ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้
Forest and Climate Change Division

𝐂𝐎𝐏𝟐𝟔: 𝐖𝐡𝐚𝐭 𝐢𝐬 𝐭𝐡𝐞 𝐔𝐍 𝐜𝐥𝐢𝐦𝐚𝐭𝐞 𝐜𝐨𝐧𝐟𝐞𝐫𝐞𝐧𝐜𝐞 𝐢𝐧 𝐆𝐥𝐚𝐬𝐠𝐨𝐰 𝐚𝐧𝐝 𝐰𝐡𝐲 𝐢𝐬 𝐢𝐭 𝐬𝐨 𝐢𝐦𝐩𝐨𝐫𝐭𝐚𝐧𝐭?

สิงหาคม 15, 2021

ผู้นำจาก 196 ประเทศจะเข้าร่วมการประชุมด้านภูมิอากาศที่ Glasgow ในเดือนพฤศจิกายนนี้

ในการประชุมจะนำไปสู่ความตกลงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ สำหรับต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่ตามมา เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และสภาพอากาศรุนแรง

  รายงานจากนักวิทยาศาสตร์ เตือนถึงอุณหภูมิโลก นับตั้งแต่ปี 1970 ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กว่าครั้งใดๆ ในช่วงเวลา 2,000 ปีที่ผ่านมา

𝐖𝐡𝐚𝐭 𝐢𝐬 𝐭𝐡𝐞 𝐜𝐥𝐢𝐦𝐚𝐭𝐞 𝐜𝐨𝐧𝐟𝐞𝐫𝐞𝐧𝐜𝐞?
การประชุมนี้ จัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ โดยเรียกว่า 𝐂𝐎𝐏𝟐𝟔 (COP เป็นอักษรย่อของคำว่า Conference of the Parties) เป็นความพยายามที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลับสู่การควบคุม ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ผู้นำจากประเทศต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการถกในประเด็นการปฏิบัติที่เพียงพอหรือไม่ สำหรับการบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส ซึ่งเป็นความตกลงที่สำคัญที่ทั่วโลกต่างให้คำมั่นต่อการต่อต้านภาวะโลกร้อน

จากความตกลงที่พยายามหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของอถณหภูมิไว้ที่ “𝒘𝒆𝒍𝒍 𝒃𝒆𝒍𝒐𝒘” 𝟐𝑪 (𝟑.𝟔𝑭) และมีความพยายามที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นไว้ที่ 1.5C แต่เหล่านักวิทยาศาตร์ได้ออกมาเตือนว่า จากความพยายามที่มียังน้อยกว่าระดับที่ควรจะเป็นและหากการปฏบัติยังอยู่ที่ระดับนี้ ภาวะโลกร้อนจะขึ้นแตะระดับ 3C

𝐖𝐡𝐚𝐭 𝐚𝐜𝐭𝐢𝐨𝐧 𝐧𝐞𝐞𝐝𝐬 𝐭𝐨 𝐛𝐞 𝐚𝐠𝐫𝐞𝐞𝐝 𝐚𝐭 𝐂𝐎𝐏𝟐𝟔?
แต่ละประเทศจะถูกร้องขอถึง “𝒂𝒎𝒃𝒊𝒕𝒊𝒐𝒖𝒔” ของเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 และยังจะถูกร้องขอถึงหนทางการบรรลุสู่เป้าหมาย “𝒏𝒆𝒕 𝒛𝒆𝒓𝒐” ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่เพิ่มก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่บรรยากาศมากไปกว่าการกำจัด ภายในปี 2050

การเผาไหม้เชื้อเพลิงเป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น หนทางเพื่อก้าวสู่เป้าหมาย จะประกอบด้วย
  หยุดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหิน
หยุดการทำลายป่าไม้
เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า
ลงทุนในพลังงานหมุนเวีย

𝐖𝐡𝐚𝐭 𝐝𝐨 𝐭𝐡𝐞 𝐰𝐨𝐫𝐥𝐝’𝐬 𝐩𝐨𝐨𝐫𝐞𝐫 𝐜𝐨𝐮𝐧𝐭𝐫𝐢𝐞𝐬 𝐰𝐚𝐧𝐭?
ผู้คนในประเทศยากจน ถือเป็นด่านหน้าของผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ไม่เพียงแต่ความแห้งแล้งและคลื่นความร้อน แต่การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะค่อยๆ กลืนประเทศหมู่เกาะ และการรุกล้ำของน้ำเค็มยังทำลายพื้นที่เพาะปลูก โดยการถึงการประชุม COP26 ประเทศกำลังพัฒนากว่า 100 ประเทศได้กำหนดแสดงจุดยืนของความต้องการความช่วยเหลือ เช่น
เงินทุนสำหรับการต่อสู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเยียวยาต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพวกเขา

เงินทุนสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ต้องการความชัดเจนสำหรับประเด็นนี้ ไม่เช่นนั้นแล้ว การประชุม COP26 อาจไร้ค่าและจบลงด้วยความล้มเหลว

𝐖𝐡𝐚𝐭 𝐡𝐚𝐯𝐞 𝐫𝐢𝐜𝐡𝐞𝐫 𝐜𝐨𝐮𝐧𝐭𝐫𝐢𝐞𝐬 𝐩𝐫𝐨𝐦𝐢𝐬𝐞𝐝?
สำหรับประเทศที่ร่ำรวยได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนทุน สูงถึง 1 แสนล้าน USD ภายในปี 2020 เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลล่าสุดเพิ่งมีการสนับสนุนเงินทุนไปเพียงราว 79,000 ล้าน USD

ในปี 2018 เงินทุนราว 3 ใน 4 ส่วนเป็นการสนับสนุนในรูปแบบการให้กู้ยืม ซึ่งเงินทุนเพื่อการกู้ยืมนี้เป็นอุปสรรคต่อประเทศยากจน ซึ่งหลายประเทศมีภาวะเป็นหนี้อยู่แล้ว ประเด็นนี้ เรียกว่า “𝒄𝒍𝒊𝒎𝒂𝒕𝒆 𝒇𝒊𝒏𝒂𝒏𝒄𝒆” ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ที่จะต้องถกกันในการประชุมครั้งนี้

𝐖𝐡𝐚𝐭 𝐰𝐨𝐮𝐥𝐝 𝐬𝐮𝐜𝐜𝐞𝐬𝐬 𝐚𝐭 𝐂𝐎𝐏𝟐𝟔 𝐥𝐨𝐨𝐤 𝐥𝐢𝐤𝐞?
มีความคาดหวังอย่างมากถึงความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการต่อต้านการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจากผลของการประชุม COP26 ประเทศร่ำรวยจะถูกร้องขอการให้คำมั่นสำหรับการสนับสนุนเงินทุน 1 แสนล้าน USD จากที่เคยได้ให้คำมั่นไว้ก่อนหน้านี้ และความตกลงสำหรับทุกประเทศในโลกสำหรับการลดการพึ่งพาพลังงานถ่านหิน ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องยากก็ตาม

นอกจากนี้ยังจะมีการเพิ่มแรงกดดันสำหรับทุกๆ ประเทศ ที่จะต้องเพิ่มความทะเยอทะยานของเป้าหมายที่ไม่เพียงแต่การลดก๊าซเรือนกระจก แต่ยังครอบคลุมถึงการให้ความช่วยเหลือต่อประชาคมและประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา: https://bbc.in/3g0ypwz 

ข่าวประชาสัมพันธ์/กิจกรรมยอดนิยม

Press Releases

ประชุมหารือ เรื่อง “คาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่า แนวทางการดำเนินงานและการแบ่งปัน กรณีดำเนินโครงการในพื้นที่ของภาครัฐ” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

Development and training

วันที่ 26 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ อุทยานแห่งชาติเขาปู่ – เขาย่า จังหวัดพัทลุง

ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้
Forest and Climate Change Division
magnifiercross linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram