ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฎิบัติงานประจำวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
แจกจ่ายกล้าไม้ให้แก่ชุมชนเครือข่ายเรดด์พลัส
เก็บเศษขยะมูลฝอย ประเภทขวดแก้ว ขวดพลาสติก ตลอดจนกิ่งไม้แห้ง บริเวณหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เส้นทาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ – อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา จะมีผู้สัญจรทิ้งเป็นประจำ
นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
รายงาน
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564
รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
- ติดตามเปอร์เซ็นการรอดตายต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่ศูนย์สาธิตของศูนย์ขับเคลื่อนฯ ผลปรากฎว่ารอดตาย 100%
- สนับสนุนกล้าไม้ยืนต้นและไม้ประดับให้แก่ชุมชนในพื้นที่ เพื่อปลูกในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยริน หมู่ 1 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ชนิดกล้าไม้ สาธร‚มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ เหลืองเชียงราย‚ทองอุไร‚พิกุล และหมันแดง รวมจำนวน 230 ต้น โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม เป็นผู้ขนกล้าไม้
- เพาะกล้าไม้ทะลายโจร จำนวน 450 ถุง
นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)
– สนับสนุนกล้าไม้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ได้แก่ มะไฟ‚ลูกพลับ ‚ต้นสัก‚มะขามป้อม‚ผักหวานบ้าน และกาแฟ
– ร่วมกับเครือข่ายฯบ้านเมืองอางพัฒนาทางเข้าหมู่บ้าน และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกริมถนนทางเข้าหมู่บ้านเมืองอาง ม.9 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
นายจักรกฤษณ์ หล้าแก้ว
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ รายงาน
รายงานการดำเนินกิจกรรม ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)
รายงานการดำเนินกิจกรรม
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
- สำรวจติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ในแปลงปลูกผู้เข้าร่วมโครงการ ปี 2561 บ้านมอทะ จำนวน 4 ราย 4 แปลง โดยการจับพิกัด วัดความโต และความสูง ซึ่งต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีคือ ไม้สัก
- ร่วมกับเยาวชนบ้านกุยเลอตอ ปลูกต้นค้อเสริมในแปลงปลูกป่าลดโลกร้อน บ้านกุยต๊ะ พร้อมติดตามการเจริญเติบโตของต้นค้อที่ปลูกเสริมในช่วงระหว่างปี 2559 -2560
นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน
ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินผ่านทางออนไลน์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563
เนื่องจากในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 68 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณฯ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ผ่านทางออนไลน์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563
วันที่ 10 มิถุนายน 2563 นายประเสริฐ สอนสถาพรกุล ผู้อำนวยการ กองการต่างประเทศ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงานกำกับวิชาการ โครงการพัฒนาระดับอ้างอิงภาคป่าไม้
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 นายสมหวัง เรืองนิวัติ รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุม
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยกองการต่างประเทศ ได้จัดจ้างให้บริษัทผู้รับจ้างนำส่งครุภัณฑ์การเกษตร
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จันทบุรี)
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยกองการต่างประเทศ ได้จัดส่งครุภัณฑ์อุปกรณ์การเกษตร ให้กับศูยน์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (แพร่)
แนวทางการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน
การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน = เพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เป็นป่าและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่อื่นที่เปลี่ยนเป็นพื้นที่ (IPCC definition)
- ส่งเสริมให้ป่าธรรมชาติมีการเติมโตเพิ่มขึ้น
- ปลูกเสริมป่าในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน
- การขยายรอบตัดฟัน เพื่อรักษาปริมาณคาร์บอนให้อยู่ในพื้นที่ระยะเวลาหนึ่ง
- สนับสนุนให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้ในการพัฒนาและการก่อสร้าง ฯลฯ
- เพิ่มผลผลิตมวชีวภาพต่อพื้นที่ให้มากขึ้น โดยใช้หลักการจัดการป่าไม้ตามหลักวิชาการ เช่น การเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- ปลูกฟื้นฟูป่าในที่เคยเป็นป่าแต่ถูกทำลาย
- การบูรณะป่าธรรมชาติและการฟื้นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)
ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 4-30 เมษายน พ.ศ.2565
- ปรับภูมิทัศน์ ดูแลความสะอาดรอบบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนฯ
- ถางหญ้าในเรือนเพาะชำ
- ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ริมถนน ทางเข้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
- ปลูกสมุนไพรในแปลงสาธิต ได้แก่ พลูคาว,ว่านหางจระเข้, ผักแพว,ใบหูเสือ และมายมิ้น
- ตัดหญ้าในแปลงสาธิตฯ
- ดูแลทำความสะอาดในสำนักงาน
- 7/04/65 ได้ร่วมเข้าการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom เรื่องเสริมสร้างความรู้การลดก๊าซเรือนกระจกกับทิศทางของประเทศไทย และการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน(Green Office)
นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รายงาน
‘โลกร้อน’ ใกล้สุดทาง ‘ไอพีซีซี’ ชี้หายนะ
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี (IPCC: The Intergovernmental Panel on Climate Change) ขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เพิ่งเผยแพร่รายงานเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2021: ข้อมูลพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม” ในส่วนที่ 3 หลังจากมีการเปิดเผยรายงาน 2 ส่วนแรกไปเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2021 และเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 ที่ผ่านมา รายงานฉบับนี้มีความยาวรวม 10,000 หน้า นับเป็นการประเมินภาวะโลกร้อนที่ครอบคลุมมากที่สุดในโลกที่ไอพีซีซีทำมาเป็นครั้งที่ 6 แล้วนับตั้งแต่ปี 1990 และครั้งนี้นับเป็นการส่งสัญญาณอันตรายที่เป็นจริงเป็นจังมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ไอพีซีซี เป็นองค์กรที่มีนักวิทยาศาสตร์หลายร้อยคนจากทั่วโลกร่วมกันประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และเป็นการส่งคำเตือนให้มนุษยชาติหลีกเลี่ยงหายนะที่จะเกิดขึ้นจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นในอนาคต
รายงานใน “ส่วนแรก” ไอพีซีซีออกมาเตือนว่า เวลานี้โลกมี “สัญญาณอันตราย” ที่โลกจะร้อนเกินกว่าที่จะควบคุมได้ ก่อนที่ “ส่วนที่ 2” จะชี้ให้เห็นว่า โลกที่ร้อนขึ้นอาจส่งผลให้อารยธรรมมนุษย์ล่มสลายแบบไม่อาจหวนคืนกลับ และรายงาน “ส่วนที่ 3” นี้ ที่มีจำนวน 2,800 หน้า เป็นการบอกวิธีการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้โลกใบนี้ “สามารถอยู่อาศัยได้” ในอนาคต และเน้นย้ำว่าต้อง “เริ่มทำทันที” เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ
รายงานฉบับนี้ของยูเอ็นยังเป็นรายงานอีกฉบับที่ตบหน้าบรรดาผู้นำประเทศและผู้นำธุรกิจ ที่เคยให้คำมั่นไว้อย่างตรงไปตรงมาด้วยเช่นกัน “ผู้นำรัฐบาลและผู้นำธุรกิจบางคนกำลังพูดอย่างทำอย่าง พูดง่ายๆ พวกเขากำลังโกหก และผลจากการกระทำนั้นคือหายนะใหญ่” อันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการยูเอ็น ระบุปัจจุบัน พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่ายุคมิดเซนจูรี (mid-century) หรือยุคก่อนอุตสาหกรรม มาแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส และโลกก็ตั้งเป้าที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่สูงเกินกว่า 2 องศา หรือหากเป็นไปได้ไม่เกิน 1.5 องศา ภายใต้ข้อตกลงปารีสในปี 2015 ที่ผ่านมา และแน่นอนว่า รายงาน “ส่วนที่ 3” ของไอพีซีซี ก็ได้ประเมินสถานะของโลกใบนี้ในปัจจุบันที่เป็นสัญญาณเตือนเอาไว้ และก็บอกวิธีที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จเอาไว้ด้วยเช่นกัน ไอพีซีซีระบุว่า เวลานี้หากโลกไม่สามารถจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากกว่าที่แต่ละประเทศประกาศเอาไว้ภายในปี 2030 นั่นหมายความว่า เป้าหมายไม่เกิน 1.5 องศา เหนือยุคมิดเซนจูรีนั้น จะไม่สามารถเป็นไปได้แล้ว
นโยบายตัดลดการปล่อยคาร์บอนได ออกไซด์ของแต่ละประเทศในปัจจุบันจะสามารถลดการปล่อยก๊าซได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นภายในปี 2050 และโลกจะร้อนขึ้นถึงระดับ 3.2 องศา เหนือยุคมิดเซนจูรี ในปี 2100 แม้แต่เป้าหมายไม่เกิน 2 องศาเองยังคงมีความยากลำบาก เนื่องจากโลกจำเป็นต้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละปีลงถึง 1,500 ล้านตันทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี 2030 ถึง 2050 หรือเท่าๆ กับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงในปี 2020 ปีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องล็อกดาวน์ และส่งผลให้เศรษฐกิจชะงักงัน แบบนั้นทุกๆ ปี
ไอพีซีซีแนะแนวทางในการไปสู่เป้าหมายเอาไว้ด้วย ก็คือการหาพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิลมาใช้ โดยไอพีซีซีระบุว่า หากโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน ไม่มีการดักจับก๊าซเรือนกระจกที่จะปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ การควบคุมอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศา จะเป็นไปไม่ได้เลยนอกจากนี้ยังระบุว่า หากจะจำกัดไม่ให้โลกอุณหภูมิสูงกว่าช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เกิน 2 องศาแล้วล่ะก็ โลกจะต้องไม่ใช้น้ำมันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซสำรอง 50 เปอร์เซ็นต์ และถ่านหินสำรอง 80 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนไดออกไซด์แล้วก็ตาม และระบุด้วยว่าการยุติการอุดหนุนพลังงานฟอสซิลของรัฐบาลทั่วโลกจะสามารถลดการปล่อยก๊าซได้มากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030
ไอพีซีซีระบุอีกแนวทางเอาไว้ด้วย นั่นก็คือการ “เปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด” โดยระบุว่า โลกจะต้องเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น “ศูนย์” หรือ “เน็ตซีโร่” ให้ได้ภายในปี 2050 โดยจะต้องหันไปใช้ พลังงานไฟฟ้า และพลังงานไร้มลพิษอื่นๆ เพื่อให้เป้าหมายตามข้อตกลงปารีสยังมีความหวัง แม้ปัจจุบันโลกจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เช่น พลังงานลมที่เพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น 170 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2015-2019 แต่พลังงานทั้งสองส่วนก็คิดเป็นเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ จากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2019 เท่านั้น ขณะที่ไฟฟ้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ หรืออยู่ในระดับต่ำอย่างเช่น พลังงานน้ำ หรือนิวเคลียร์นั้น ผลิตไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนราว 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นเป็นไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานฟอสซิลที่สร้างก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ไอพีซีซีระบุด้วยว่า มีวิธีลดความต้องการพลังงานลงจากฝั่งผู้บริโภคได้ด้วย เช่น การกินอาหารจากพืชเป็นหลัก การใช้รถยนต์ไฟฟ้า การคมนาคมโดยไม่ใช้รถยนต์ การสื่อสารทางไกล การสร้างอาคารที่ทนต่อสภาพอากาศ ลดเที่ยวบินระยะไกล รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ 40-70 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 นอกจากนี้ยังรวมไปถึงวิธีการแบบกำปั้นทุบดินแต่เป็นไปได้จริง ก็คือการดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า หรือการใช้เครื่องมือทางเคมีในการแยกคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมาย “เน็ตซีโร่” และ “ลดอุณหภูมิโลก” ลงได้ แน่นอนว่าการจะไปถึงเป้าหมายด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้ ย่อมต้องใช้งบประมาณสูง โดยไอพีซีซีระบุว่า การจะหยุดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศา ตามเป้าหมายนั้นจำเป็นต้องลงทุนในอุตสาหกรรมไฟฟ้าสูงถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 76 ล้านล้านบาทต่อปี ระหว่างปี 2023-2052 แต่หากเป้าหมายอยู่ที่ 2 องศางบประมาณจะลดลงมาอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 56.9 ล้านล้านบาทต่อปี เทียบกับงบประมาณที่โลกลงทุนกับพลังงานสะอาดในปี 2021 ที่ผ่านมา ที่ 750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว ยังคงห่างเป้าหมายอีกไกลมากๆ เลยทีเดียว นั่นเป็นเพียงตัวอย่างแนวทางอย่างเป็นรูปธรรมที่ไอพีซีซีบอกให้โลกได้รู้ เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะที่จะเกิดขึ้น และแน่นอนว่าหายนะดังกล่าว ไอพีซีซีเคยเตือนมาแล้วในรายงาน 2 ส่วนก่อนหน้านี้ เช่น น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกละลายจนหมดสิ้นอย่างน้อย 1 ครั้งในฤดูร้อน อัตราน้ำช่วยชายฝั่งเพิ่มขึ้น 2 เท่า คลื่นความร้อนจัดที่ปกติเกิดขึ้นทุก 50 ปี จะเกิดขึ้นทุก 10 ปี พายุหมุนเขตร้อนจะรุนแรงมากขึ้น ฝนและหิมะตกมากขึ้นในช่วง 1 ภาวะแห้งแล้งจะเกิดบ่อยขึ้นกว่าเดิม 1.7 เท่า และฤดูกาลไฟป่าจะยาวนานและรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แน่นอนว่าแนวทางเหล่านี้ที่ไอพีซีซีให้คำแนะนำ นอกจากจะไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆ ประเทศทั่วโลกด้วย เวลานี้คงได้แต่หวังว่า รายงานฉบับนี้จะสามารถกระตุ้นเตือนให้โลกหันมาร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด
ก๊าซเรือนกระจกมาจากไหน
ก๊าซเรือนกระจกมีทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ (Natural Greenhouse Gas) เช่น ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม ของมนุษย์หรือเรียกได้ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น (Anthropogenic Greenhouse Gas) เช่น ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินในกระบวนการผลิตไฟฟ้า การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ กระบวนการหมักของจุลินทรีย์จากน้ำในนาข้าว กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตปูนเม็ด กระบวนการทางเคมีต่าง ๆ สารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ แอร์รถยนต์และระบบทำความเย็นในอาคาร
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึง 4 มีนาคม พ.ศ. 2565
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึง 4 มีนาคม พ.ศ. 2565 รายละเอียดดังนี้
- บันทึกข้อมูลต้นไม้และการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูก
- กิจกรรมดูแลรักษากล้าไม้
- กิจกรรมเพาะกล้าไม้ ประจำปี พ.ศ.2565 โดยได้ดำเนินการ ผสมดิน กรอกถุง จัดเก็บเมล็ดไม้ และย้ายชำกล้าไม้
- กิจกรรมดายวัชพืชภายในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
- จัดทำแปลงตัวอย่างการปลูกพืชในระบบวนเกษตร
นายอรรณพ ทิพยแสง
นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ฯ
ผู้รายงาน
วันที่ 26 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ อุทยานแห่งชาติเขาปู่ – เขาย่า จังหวัดพัทลุง
วันที่ 20 – 22 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 2 (เขาใหญ่) จังหวัดนครนายก
วันที่ 17 – 19 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูฝอยลม และสวพฤกษศาสตร์ภูฝอยลม ๖๐ พรรษา มหาราชินี จังหวัดอุดรธานี
วันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ รุ่นที่ 1 ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 5 (ตาก) จังหวัดตาก
วันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สรุปบทเรียน และการทำแผนการรับมือต่อกลไกเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้” รุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (Readiness Proposal Preparation: R-PP) ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ (Forest Carbon Partnership Fund: FCPF) โดยอยู่ในความดูแลของธนาคารโลก ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 5 (ตาก) จังหวัดตาก
วัตถุประสงค์
- เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจ ในกลไกเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ รวมทั้งนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้กับทุกภาคส่วน
- เพื่อการแลกเปลี่ยนและสรุปบทเรียนในการดำเนินงานของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้เรดด์พลัสในช่วงเวลาที่ผ่านมา
- เพื่อการกำหนดแนวทางและแผนงานในการดำเนินการเพื่อรับมือกับกลไกเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน 80 คน ประกอบด้วย
1.ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้โดยการสร้างแรงจูงใจและกระบวนการมีส่วนร่วมกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2.ผู้แทนชุมชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
3.ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาการบรรยาย
โครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (Readiness Preparation Proposal: R-PP)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศป่าไม้ และ REDD+
การอภิปราย
การดำเนินงานและความก้าวหน้า REDD+ ในประเทศไทย
นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกลไก REDD+
ชุมชนต้นแบบและรูปธรรมที่เป็นจริง (Best Practices) ของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและการดำเนินงานกลไกเรดด์พลัส
ภาคปฏิบัติ (นำเสนอรายงาน แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น และศึกษาดูงาน)
การดำเนินงานชุมชนต้นแบบและศูนย์ฯ REDD+ : ความสำเร็จและความท้าทายและบทเรียนจากผู้ปฏิบัติการ
นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การป่าไม้แห่งชาติกับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและกลไก REDD+
REDD+ กับมาตรการปกป้องทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
REDD+ กลไกทางการเงิน/แรงจูงใจ และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
การสำรวจและประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) และบทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลไก REDD+
กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน REDD+ ในระยะต่อไป