ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร) รายงานผลการปฎิบัติงานประจำวันที่ 2 สิงหาคม  พ.ศ.2564 

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร) รายงานผลการปฎิบัติงานประจำวันที่ 2 สิงหาคม  พ.ศ.2564

คณะ เจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (สกลนคร) เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่า ”โครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ภูผาเหล็ก ท้องที่บ้านบัว ตำบลกุดบาก จังหวัดสกลนคร โดนมีนายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานในพีธี

วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:30 น. ดร.รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุม เชิงปฏิบัติการ “พลังคิด คนรุ่นใหม่ต่อยุทธศาสตร์ เรดด์พลัส”

วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:30 น. ดร.รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุม เชิงปฏิบัติการ “พลังคิด คนรุ่นใหม่ต่อยุทธศาสตร์ เรดด์พลัส” โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย คุณวราภรณ์ หิรัญวัฒน์ศิริ ผู้แทนธนาคารโลก และ คุณจรีรัตน์ เพชรโสม ดารานักแสดงและทูตสิ่งแวดล้อม เพิ่มพลังบวก ในหัวข้อ “ปฏิบัติการคนรุ่นใหม่กับการอนุรักษ์ป่า ช่วยโลก เราทำได้” ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลไกการลด การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้และ ระดมความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ จากผู้แทนและสมาชิกกลุ่มเครือข่ายเยาวชน รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้และกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของการลดภาวะโลกร้อน และการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น

ขยะอาหารกับโลกร้อน

“ขยะอาหาร” หนึ่งในปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพอเจอ

การเน่าเสียของอาหารนั้นปล่อยก๊าซมีเทนที่มีศักยภาพเป็นก๊าซเรือนกระจก

ขยะมูลฝอยในประเทศไทยโดยเฉลี่ยประมาณ 27 ล้านตันต่อปี

3Rs

Reduce  การลดปริมาณอาหารเตรียมอาหารเท่าปริมาณที่จะรับประทาน

Reuse    การนำวัตถุดิบที่เหลือมาทำเป็นอาหารเมนูใหม่ การนำอาหารที่เหลือไปเป็นอาหารสัตว์

Recycle การนำขยะอาหารไปทำปุ๋ยหมัก การนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. จัดเตรียมป้าย (ไม้) เพื่อวางแผนการทำทำป้ายศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  2. ตัดแต่งไม้ประดับและแผ้วถางวัชพืช
  3. ถอนวัชพืชแปลงเพาะเมล็ดสัก

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พัฒนาศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ และดูแลบำรุงรักษากล้าไม้ ในเรือนเพาะชำ เพื่อเตรียมพร้อมในการปลูกเสริมป่า

จัดเตรียมแท็กหมายเลขสำหรับติดต้นไม้แปลงปลูก ในพื้นที่ทำกินตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541

เจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร) วัดความโต ความสูง และจับพิกัดต้นไม้ที่ทำการปลูกในพื้นที่ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จำนวน 2 แปลง

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ (จังหวัดเลย) รายงานการดำเนินกิจกรรม

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ (จังหวัดเลย) รายงานการดำเนินกิจกรรมดังนี้
– วันที่ 28 ก.ค. 2564 หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ ได้เข้าร่วมโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อุทยานแห่งชาติภูเรือ ต.ลาดค่าง อ.ภูเรือ จ.เลย
– พัฒนาบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนฯ โดยการตัดหญ้า และดายวัชพืชรอบต้นไม้ที่ปลูกบริเวณรอบศูนย์ขับเคลื่อนฯ
– ปรับปรุง ซ่อมแซมห้องน้ำ ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
– จัดทำป้าย ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายเสกสรร จันทรเนตร
นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ/ผู้รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ วันที่ 28-29 กรกฎาคม พ.ศ.2564

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ วันที่ 28-29 กรกฎาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  2. จัดเรียงกล้าไม้ในแปลงเพาะชำ เนื่องจากได้คัดเลือกกล้าไม้แข็งแรง/สมบูรณ์ แจกจ่ายไปก่อน
  3. ปลูกซ่อมต้นกล้าในพื้นที่ศูนย์สาธิต
  4. ปฏิบัติงานที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ โดยแผ้วถางวัชพืช ได้แก่ไม้ประดับ (ชาฮกเกี้ยน)

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
รายงาน

ศูนย์​ขับเคลื่อน​และ​เรียนรู้​การ​เปลี่ยน​แปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับ​พื้นที่​ (จังหวัด​สกลนคร)​ รายงานผล​การปฏิบัติ​งานประจำ​วันที่​ 27 กรกฎาคม​ พ.ศ. 2564

ศูนย์​ขับเคลื่อน​และ​เรียนรู้​การ​เปลี่ยน​แปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับ​พื้นที่​ (จังหวัด​สกลนคร)​ รายงานผล​การปฏิบัติ​งานประจำ​วันที่​ 27 กรกฎาคม​ พ.ศ. 2564

 1. เจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร) ร่วมกับชาวบ้านที่สมัครใจปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทำกินตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541

1.1. นางอริษสา บุญยิ่ง ชาวบ้านค้อน้อย ต.กุดไห อ.กุดบาด จังหวัดสกลนคร ปลูกต้นไม้ชนิด ยางนา จำนวน 100 ต้น ตะเคียน 100 ต้น รวมทั้งหมด 200 ต้น

  1. จำเตรียมพลั่วไม้และอุปกรณ์อื่นฯ เพื่อสนับสนุนการปลูกต้นใน “โครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า” ของอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จังหวัดสกลนคร

นางสาวอรฤดี มณีทอง  นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 27 ก.ค. 64

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
รายงาน

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 27 ก.ค. 64
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิภาคป่าไม้
  2. ปฏิบัติงานที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ และกำจัดวัชพืช

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2564

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  2. แจกจ่ายกล้าไม้ของ”โครงการปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ณ ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  3. ปฏิบัติงานที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ โดยแผ้วถางวัชพืช และดูแลแปลงเพาะเมล็ดสัก

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. ติดตามงานปลูกป่า”โครงการปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ในพื้นที่ศูนย์สาธิต
  2. ปฏิบัติงานที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ โดยถอนหญ้าบริเวณแปลงเพาะเมล็ดสัก ตัดหญ้า ตกแต่งสถานที่
  3. ร่วมแจกจ่ายกล้าไม้กับอุทยานแห่งชาติแม่ยมตามโครงการดังกล่าว ณ ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

1.แจกจ่ายกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ และกล้าไม้ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม

  1. ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ในพื้นที่ศูนย์สาธิตของศูนย์ขับเคลื่อนฯ ซึ่งเป็นการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม จนครบเต็มพื้นที่ เนื้อที่ 33 ไร่ ระยะปลูก6×6เมตร
  2. ดูแลแปลงเพาะเมล็ดสัก ในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
1.ปลูกไม้ยืนต้น (Tree) ได้แก่ สักและพะยูง ไม้ผล คือ มะม่วงและมะขาม ในพื้นที่ศูนย์สาธิตของศูนย์ขับเคลื่อนฯ ซึ่งเป็นการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม ซึ่งจะทยอยปลูกไปจนกว่าจะเต็มพื้นที่

  1. เพาะและปลูกพืชสมุนไพร คือต้นฟ้าทะลายโจร ในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ได้ปฏิบัติงาน ดังนี้

1. ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2564 ภายใต้โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า พร้อมด้วยศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอสอยดาว โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา),นายอำเภอสอยดาว,นายก อบต.ปะตง พร้อมด้วยจิตอาสาพระราชทาน ส่วนราชการ ประชาชนอำเภอสอยดาว ณ บริเวณคูกันช้าง พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ท้องที่หมู่ที่ 7 ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ป่าให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่
    2.1 นายสมพงษ์ ฤกษ์สม ขอรับกล้าไม้ พะยูง 300 ต้น ตะเคียน 200 ต้น สัก 30 ต้น
    2.2 นายพลทิพย์ ชมพูโคตร ขอรับกล้าไม้ 20 ต้น
    รวมทั้งสิ้น จำนวน 550 ต้น

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
หน.ศสปส.จบ. รายงาน

การประชุมหารือ การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับยุทธศาสตร์ ( SESA) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศ

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. นางสาวจินตนา บุพบรรผล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิจัยด้านพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมประชุมหารือการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental and Social Assessment : SESA) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศไทย โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำหนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ชุมชนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่นๆ ต่อการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับยุทธศาสตร์สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ

การประชุมหารือ การจัดเตรียมกลไกการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องบร้องทุกข์ (FGRM) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศไทย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:30 – 16:00 น. นายธัญนรินทร์ ณ นคร ผู้ตรวจราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดการประชุมหารือการจัดเตรียมกลไกการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ (Feedback and Grievance Redress Mechanism: FGRM) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศไทย ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยมูลนิธิ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในที่ประชุม ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมทั้ง ทีมนักวิจัย ได้นำเสนอ 1) ช่องทางการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ 2) ข้อกังวลและขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานเรดด์พลัส 3) จุดแข็งและช่องว่างขององค์กร ต่อการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ และ 4) (ร่าง) กรอบการดำเนินงานการรับข้อมูล และแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ชุมชนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น ๆ ต่อการจัดเตรียมกลไกการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ดังนี้

นายจักรกฤษณ์ หล้าแก้ว
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน

รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน และจดหมายถึงผู้บริหาร โครงการ เตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (TF 0A0984)

รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน และจดหมายถึงผู้บริหาร โครงการ เตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (TF 0A0984) ดำเนินการโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำหรับปี สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2563

Auditor’s report and financial statements for Thailand’s Readiness Preparation Proposal Readiness fund of the FCPF grant no. TF 0A0984, implemented by Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP) for the year ended 30 September 2020

เอกสารดาว์โหลด

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้.ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12-14 ก.ค.64

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12-14 ก.ค.64

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ และแจกจ่ายกล้าไม้ (ตกค้าง) ของโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม ซึ่งมีทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้กินได้ โดยมีประชาชนในพื้นที่ไปติดต่อขอรับกล้าไม้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 ก.ค.64 หน่วยงานภาคสนามในพื้นที่ ประกอบด้วย ศูนย์ขับเคลื่อนฯ‚อุทยานแห่งชาติแม่ยม‚สถานีควบคุมไฟป่าแม่ยม‚เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง‚หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่สอง‚หน่วยศึกษาการพัฒนา การอนุรักษ์ต้นน้ำแม่ถาง ได้ร่วมกันขนส่งกล้าไม้และแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ณ ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  2. เตรียมพื้นที่ปลูกป่าศูนย์สาธิต ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ เนื้อที่ 33 ไร่ ซึ่งได้ปักหลักหมายแนวเขตปลูก ระยะ 6×6 เมตร และจะได้ดำเนินการปลูกป่า โดยเป็นพื้นที่เปิดตัวโครงการของการปลูกป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม
  3. ขนแกลบและโรยกลบแปลงเพาะเมล็ดสัก เนื่องจากเมล็ดฟูเหนือผิวดิน
  4. ปลูกไม้ประดับฟอกอากาศ (เฟรินส์เปลือกหอย) บริเวณโรงครัว
  5. ติดตามการติดตามะม่วงโชคอนันต์ โดยเปิดตาให้แตกยอด ในโซนพื้นที่ปลูกไม้ผลของศูนย์ขับเคลื่อนฯ
    นายมงคล ทิพย์โพธิ์
    หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน

สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ Invitation to Activity Data and Emission Factor ในระหว่างวันที่ 7 – 11 กันยายน 2563 ณ โรงแรมเมธาวลัย จังหวัดเพชรบุรี