Test

ศูนย์ขับเคลื่อน​และ​เรียนรู้​การ​เปลี่ยน​แปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับ​พื้นที่​ (จังหวัด​สกลนคร) รายงานผล​การปฏิบัติ​งานประจำ​วันที่​ 7 กันยายน​ พ.​ศ. 2564

ศูนย์ขับเคลื่อน​และ​เรียนรู้​การ​เปลี่ยน​แปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับ​พื้นที่​ (จังหวัด​สกลนคร)
รายงานผล​การปฏิบัติ​งานประจำ​วันที่​ 7 กันยายน​ พ.​ศ. 2564

  1. หัวหน้าศูนย์​ขับเคลื่อน​และ​เรียนรู้​การ​เปลี่ยน​แปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับ​พื้นที่​ (สกลนคร)​เข้าร่วม​ประชุม​การประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ (ระดับพื้นที่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ผ่านระบบVDO conference (Zoom Meeting
  2. เจ้า​หน้าที่​เข้าแถว​เคารพ​ธงชาติ​ สวดมนต์​ไหว้พระ
  3. พัฒนา​ศูนย์​ขับเคลื่อน​และ​เรียนรู้​การ​เปลี่ยน​แปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ และ​ดูแล​บำรุง​รักษา​กล้าไม้​ใน​เรือน​เพาะชำ
  4. จัดทำซุ้มประตู​ทางเข้า​เส้นทางศึกษา​ธรรมชาติ​

นางสาวอรฤดี มณีทอง นักวิชาการ​ป่าไม้​ชำนาญ​การ​/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 5 – 6 สิงหาคม พ.ศ.2564

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 5 – 6 สิงหาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. ร่วมปลูกป่าของชุมชนภายใต้โครงการฯ พร้อมจับพิกัดประจำแปลง
  2. ถอนวัชพืชแปลงเพาะเมล็ดสัก ในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  3. แผ้วถางวัชพืชในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  4. ปลูกไม้ประดับ (จันทร์ผา) เพื่อความสวยงาม ในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน

นำเสนอแนวคิดของโครงการ Strengthening of the REDD+ mechanism and establishment of its pilot project in Thailand

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 น. นางภูสิน เกตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ได้นำเสนอแนวคิดของโครงการ Strengthening of the REDD+ mechanism and establishment of its pilot project in Thailand เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณแบบ non lending จาก (Asian Development Bank : ADB) โดยโครงการด้งกล่าวเป็นการนำเอายุทธศาสตร์ กลไก REDD+ และเอกสารต่างๆมาดำเนินการในพื้นที่นำร่อง เพื่อให้ได้พื้นที่ต้นแบบที่สามารถนำไปขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไปได้ ทั้งนี้ ADB ได้ให้ความสนใจในโครงการที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เสนอ และจะประสานขอรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อหาแนวทางสนับสนุนต่อไป

การประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานและหารือแผนงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ UN-REDD

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 10.30 น. นางภูสิน เกตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เป็นประธานในการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และหารือแผนงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ UN-REDD “ การจัดการป่าไม้
เพื่อการค้าอย่างยั่งยืนในภูมิภาคแม่น้ำโขงตอนล่าง” Sustainable Forest Trade – Lower Mekong Region (SFT-LMR) และหารือแนวทางในโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกในรอบที่ 8 (GEF-8) ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยมีเจ้าหน้าที่จากส่วนการเปลี่ยนแปลงสภพาภูมิอากาศภาคป่าไม้ ส่วนสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ และ FAO ร่วมด้วย โดยที่ประชุมได้แจ้งแผนการดำเนินงาน และร่วมหารือเพื่อพัฒนาโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Project Document) การสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการให้มีความสมบูรณ์ ภายใต้โครงการ GEF-8 ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Sample post

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการดำเนินกิจกรรมช่วงแรกประจำเดือน กรกฎาคน 2566

  1. ร่วมกับราษฎรบ้านกุยเคล๊อะ สร้างฝายชะลอน้ำ จำนวน 2 ฝาย
  2. สำรวจ ติดตาม การเปลี่ยนแปลงของต้นไม้ที่สนับสนุนศูนย์เรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง บ้านพอกะทะ ปี 2565 จำนวน 123 ต้น
  3. ดูแลต้นไม้ในเรือนเพาะชำกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  4. ร่วมกับราษฎรบ้านยะโม่คี เตรียมพื้นที่แปลงปลูกป่า เป้าหมาย/ตัวชี้วัด เชิงแริมาณ (แปลงที่ 1) เพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมโทรม ศูนย์ฯละ 3,000 ต้น ตามแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ กล้าไม้ จำนวน 1,200 ต้น
    นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

การประชุมการปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เรื่องระบบข้อมูลข่าวสารและติดตามการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Safeguard Information System – SIS) สำหรับการดำเนินงานเรดด์พลัสและโครงการภาคป่าไม้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 นายสุกันฑ์ พึ่งกุล ผู้อำนวยการส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุมการปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เรื่องระบบข้อมูลข่าวสารและติดตามการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Safeguard Information System – SIS) สำหรับการดำเนินงานเรดด์พลัสและโครงการภาคป่าไม้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง TEI FAO วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 นายสุกันฑ์ พึ่งกุล ผู้อำนวยการส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุมการปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เรื่องระบบข้อมูลข่าวสารและติดตามการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Safeguard Information System – SIS) สำหรับการดำเนินงานเรดด์พลัสและโครงการภาคป่าไม้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยมีกรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง สผ. TEI FAO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 301 อาคารกริต สามะพุทธิ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช โดยการประชุมครั้งนี้ TEI ได้การนำเสนอร่างเว็บเพจระบบข้อมูลหลักด้านการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม การนำเสนอร่างการจัดการดำเนินงาน SIS ของประเทศไทยรวมถึงร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถึงแนวทางและแผนความร่วมมือในการดำเนินงานต่อไป

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสงขา) รายงานผลการดำเนินงาน 19 – 23 มิถุนายน 2566

แจกจ่ายกล้าไม้และร่วมปลูกต้นไม้ให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้กับศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ จำนวน 1 แปลง ซึ่งมีพันธุ์ไม้ ได้แก่ ต้นตะเคียนทอง ต้นพะยอม ต้นจำปาป่า
กรอกดินใส่ถุงเพื่อเตรียมเพาะชำกล้าไม้ ฯ
จัดทำฐานข้อมูลต้นไม้ป่าปลูกฯ ของเครือข่าย ประจำปี2566
ปรับปรุงรั้วเพื่อใช้ดัดกวางแปลงสาธิตฯ ให้เข้ามาในศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
นางสาวเปรมฤดี ปราชญาวงศ์ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ /รายงาน

ศูยน์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2566

  1. ดำเนินการสำรวจต้นไม้แปลงตัวอย่าง ขนาด 40*40 เมตร ในแปลงปลูกป่าสาธิต โดยการวัดความโต ความสูง ของต้นไม้ที่มีอยู่เดิม ที่มีสภาพป่ากำลังฟื้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นจำพวกไม้เบิกนำ เช่น จำพวกมะเดื่อ, ปอ, เปล้า, ทองหลางป่า และเถาวัลย์ เป็นต้น
  2. จัดทำข้อมูลชนิดไม้ที่สำรวจในแปลง 40*40

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการดำเนินกิจกรรมในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2566

1. ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าสาธิต ณ แปลงปลูกป่าสาธิต บ้านยะโม่คี โดยมีหน่วยงานราชการ และราษฎร เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ อำเภออุ้มผาง อบต.ต.อุ้มผาง สภอ.อุ้มผาง กองร้อย ตชด.ที่ 347 และราษฎรบ้านยะโม่คี จำนวนกล้าไม้ที่ปลูก 260 ต้น ได้แก่ สัก แดง ประดู่ ค้อ มะขาม กระท้อน ขี้เหล็ก และไผ่ ตามลักษณะสภาพพื้นที่ที่มีต้นไม้ดั้งเดิมขึ้นอยู่บ้างแล้ว เฉลี่ย 26 ต่อ ไร่
2. ขุดลอกคลองฝ่ายชะลอน้ำ บริเวณแปลงสาธิต

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรมเดือนมิถุนายน พ.ศ2566

1. ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แก่ชุมชนบ้าน วะเบยทะ และบ้านหนองหลวง

2. แจกจ่ายกล้าไม้ให้ราษฎรบ้าน กุยเลอตอ จำนวน 51 ต้น เพื่อปลูกทดแทนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้

3. ร่วมกับราษฎรบ้านยะโม่คี เตรียมแปลงปลูกป่าสาธิต โดยการตัดหญ้า ขุดหลุม ปักหลักสเต๊ก เพื่อเตรียมความพร้อมในการป่าสาธิตในวันที่ 21 มิถุนายน 2566 นี้

4. เพาะชำกล้าไม้ ได้แก่ สัก ค้อ และรกฟ้า ณ เรือนเพาะชำกล้าไม้ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ

5. ร่วมประชุมเครือข่ายเยาวชน 7 กลุ่มบ้าน และเครือข่ายกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

การประชุมองค์กรย่อยภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปี พ.ศ. 2566 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

วันที่ 9 และ 12 มิถุนายน 2566 นางรพีพร โอซจาน และนางสาวณัฐพร นาเกลือ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้แทนประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมองค์กรย่อยภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปี พ.ศ. 2566 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในส่วนขององค์กรย่อยสำหรับคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SBSTA) เรื่อง Work programme under the framework for non-market approaches referred to in Article 6, paragraph 8, of the Paris Agreement and in decision 4 เป็นการประชุมเกี่ยวกับ กลไกที่ไม่ใช้ตลาด (Non-market appoach : NMA) เพื่อการดำเนินการด้านลดก๊าซเรือนกระจก ในที่ประชุมได้เสนอแนะว่า เกณฑ์ที่มีอยู่แล้วนั้นเหมาะสม ยังไม่ควรจัดทำขึ้นมาใหม่ แต่ให้คำนึงถึงความสอดคล้องของการทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเดินหน้าดำเนินการในทุกองค์ประกอบต่อไป และยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่มีความชัดเจน ควรมีการหารือในเชิงลึกอีก รวมถึงเน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างศักยภาพ (capacity building) ให้มากขึ้น

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการดำเนินกิจกรรมช่วงเดือนพฤษภาคม 2566
1. เก็บเมล็ดไม้ตะแบก และยางแดง พร้อมเตรียมการเพาะ
2. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการเรดด์พลัส และแผนการปฏิบัติงาน แก่ราษฎรบ้านยะโม่คี หมู่ที่ 5 ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก เพื่อเพิ่มชุมชนต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมตามกรอบงานเรดด์พลัส อีก 1 ชุมชน พร้อมมอบกล้าไม้ 100 ต้น และสำรวจพื้นที่แปลงปลูกป่า ปี 2566
3. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน และแผนการจัดการไฟป่าตามมาตรการการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในช่วงเดือนพฤษภาคม ของบ้านกุยเลอตอ กุยต๊ะ และกุยเคล๊อะ พร้อมมอบเกลือให้หมู่บ้านละ 10 กระสอบ
4. สำรวจต้นไม้ในแปลงปลูกต้นไม้ ปี 2562 ของราษฎรบ้านกุยต๊ะ โดยการวัดความสูงและความโต พร้อมติดเบอร์ จำนวน 400 ต้น (ยังไม่แล้วเสร็จ)

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 1-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

1. ออกสำรวจวัดการเจริญเติบโตต้นไม้ป่าปลูกในพื้นที่เกษตรของชุมชน ในท้องที่หมู่ 1,7 ตำบลทับช้าง และในท้องที่หมู่ 1,2,3,6, ตำบลปะตง อำสอยดาว จังหวัดจันทบุรี จำนวน 17 ราย
2. ถางวัชพืช ปลูกต้นไม้แปลงสาธิตปลูกป่าเชิงนิเวศ
3. จัดทำฐานข้อมูลต้นไม้ป่าปลูกฯปี พ.ศ.2566 รดน้ำต้นไม้ ดูแลรักษาทรัพย์สินของราชการและทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ศูนย์ฯ
นายนาท หริภุญทรัพย์ : รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 18 – 25 เมษายน พ.ศ. 2566 ดังนี้
1. ออกสำรวจวัดการเจริญเติบโตต้นไม้ป่าปลูกในพื้นที่เกษตรของชุมชน ในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลปะตง และหมู่ที่ 1,7 ตำบลทับช้าง อำสอยดาว จังหวัดจันทบุรี จำนวน 19 ราย
2. รดน้ำต้นไม้ในเรือนเพาะชำ/ผักสวนครัวในแปลงสาธิต
3. ดูแลรักษาทรัพย์สินของราชการและทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ศูนย์ฯ
นายนาท หริภุญทรัพย์ : รายงาน

ประชุมหารือเรื่องขอความอนุเคราะห์การสนับสนุน และพิจารณาแนวทางการอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

วันที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้ นางสาวภาณุมาศ ลาดปาละ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ และนายสุกันฑ์ พึ่งกุล ผู้อำนวยการส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ประชุมหารือเรื่องขอความอนุเคราะห์การสนับสนุน และพิจารณาแนวทางการอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยมีผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนสำนักการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ผู้แทนสำนักอุทยานแห่งชาติ ผู้แทนสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้แทนกองนิติการ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารศูนย์ปฎิบัติการ (ตึก H.A.Slade) โดย กฟผ. ขอหารือในเบื้องตันในประเด็นการขออนุญาตเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยแผนพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 และตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608

การประชุมการปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เรื่องระบบข้อมูลข่าวสารและติดตามการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Safeguard Information System – SIS) สำหรับการดำเนินงานเรดด์พลัสและโครงการภาคป่าไม้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 นายสุกันฑ์ พึ่งกุล ผู้อำนวยการส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุมการปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เรื่องระบบข้อมูลข่าวสารและติดตามการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Safeguard Information System – SIS) สำหรับการดำเนินงานเรดด์พลัสและโครงการภาคป่าไม้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง TEI FAO วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 นายสุกันฑ์ พึ่งกุล ผู้อำนวยการส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุมการปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เรื่องระบบข้อมูลข่าวสารและติดตามการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Safeguard Information System – SIS) สำหรับการดำเนินงานเรดด์พลัสและโครงการภาคป่าไม้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยมีกรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง สผ. TEI FAO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 301 อาคารกริต สามะพุทธิ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช โดยการประชุมครั้งนี้ TEI ได้การนำเสนอร่างเว็บเพจระบบข้อมูลหลักด้านการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมและสังคม การนำเสนอร่างการจัดการดำเนินงาน SIS ของประเทศไทยรวมถึงร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถึงแนวทางและแผนความร่วมมือในการดำเนินงานต่อไป

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 1 – 7 เมษายน พ.ศ. 2566

  1. ทำรายงานสรุปผลความก้าวหน้าการดำเนินงานรอบที่ 1 (รอบ 6 เดือน) ( 1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566)
  2. ซ่อมแซมบ้านพักเจ้าหน้าที่
  3. องค์การบริหารส่วนตำบลปะตง ผู้นำชุมชนหมู่ที่ 2 สนับสนุนทำเส้นทางเข้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  4. เข้าประชุมชี้แจงการปลูกป่าสาธิตฯ (ปลูกป่าเชิงนิเวศ) ม.2 และม.7 ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
  5. แจกจ่ายกล้าไม้แก่ชุมชน รดน้ำต้นไม้ในเรือนเพาะชพดูแลรักษาทรัพย์สินของราชการและทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ

นายนาท หริภุญทรัพย์/ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการดำเนินกิจกรรมมีนาคม 2566

  1. ลาดตระเวนร่วมเครือข่ายคณะกรรมการ บ้านกุยเลอตอ เพื่อเฝ้าระวังไฟป่า และการวางไข่ของกลุ่มปลาตะพาก
  2. เพาะชำกล้าไม้ เพื่อส่งเสริมชุมชนเครือช่าย ณ เรือนเพาะชำกล้าไม้ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  3. ลาดตระเวนร่วมกับเครือข่ายคณะกรรมการ บ้านกุยต๊ะ บ้านกุยเคล๊อะ บ้านกุยเลอตอ และบ้านเกริงปะตีคลี่ เพื่อเฝ้าระวังไฟป่า บริเวณที่ทำกินที่ติดกับแนวขอบป่าของหมู่บ้านดังกล่าว พร้อมสำรวจต้นไม้ในแปลงปลูกป่า ปี 2565 บ้านเกริงปะตีคลี่ ซึ่งต้นไม้รอดตายประมาณ 80%
  4. จัดประชุมราษฎรบ้านกุยเลอตอ เพื่อวางแผนในการจัดการและป้องกันไฟป่า โดยชุมชนมีส่วนร่วม
  5. เก็บลูกไม้สัก ค้อ และรกฟ้า เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์และปลูกในแปลงสาธิต
  6. ตัดรากกล้าไม้ที่ค้างในเรือนเพาะชำเขตฯอุ้มผาง พร้อมเก็บกวาดใบไม้ในเรือนเพาะชำ
  7. ลาดตระเวนร่วมกับเครือข่ายคณะกรรมการบ้านหม่องกั๊วะ เพื่อเฝ้าระวังไฟป่า

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน