ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

ขอรายงานการปฏิบัติงาน ประจำเดือน 15 – 21 สิงหาคม 2565 ดังนี้

  1. งานปรับปรุงและพัฒนา
    – ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณศูนย์ฯ
  2. งานเพาะชำกล้าไม้
    – เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า สำหรับเพาะชำกล้าไม้ฯ เพื่อแจกจ่ายหมู่บ้านเครือข่ายฯ
    – เพาะชำกล้าไม้ และจัดเตรียมกล้าไม้ สำหรับแจกจ่ายหมู่บ้านเครือข่ายฯ ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีฯ
  3. งานประชาสัมพันธ์และเครือข่าย REDD+
    – ออกประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่การป้องกันไฟป่าแบบเชิงรุก (เคาะประตู) ณ เครือข่ายไฟป่า บ้านสามสบ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
  4. งานประชุมและอื่นๆ
    – เข้าร่วมรับฟังการประชุมเพื่อสนับสนุนข้อมูลในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปี 2566 วาระที่ 2-3 สภาผู้แทนราษฏร ในระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมส่วนควบคุมและปฎิบัติการไฟป่า
    – ร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชนร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยชาวบ้าน บริเวณสนามกีฬาศูนย์การเรียนรู้ตำบลบ้านหลวง บ้านสบหาด หมู่ 17 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

นายอานนท์ กุลนิล
หัวหน้าศูนย์ฯ / รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร)

ขอรายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1-18 สิงหาคม 2565 รายละเอียดดังนี้

1.เจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ ร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการฯ สมัครใจปลูกต้นไม้ของปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ปลูกต้นไม้ จำนวน 500 ต้น

  1. เจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่า ตามโครงการปลูกป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ณ ป่าชุมชนบ้านค้อน้อย
  2. ดูแล บำรุง กล้าไม้ในเรือนเพาะชำ พร้อมทั้งแจกจ่ายกล้าไม้แก่ชุมชนเครือข่าย
  3. ระหว่างวันที่ 17 – 18 สิงหาคม 2565 ต้อนรับ ดร.จตุรเทพ โควินทวงศ์ ผู้แทนผู้อำนวยการส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ เข้าตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดสกลนคร) พร้อมทั้งลงพื้นที่แปลงปลูกต้นไม้ของชุมชนต้นแบบ

น.ส.อรฤดี มณีทอง
นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
ผู้รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

ขอรายงานการปฏิบัติงาน ประจำเดือน 8 – 14 สิงหาคม 2565 ดังนี้

  1. งานปรับปรุงและพัฒนา
    – ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณศูนย์ฯ
  2. งานเพาะชำกล้าไม้
    – จัดเรียงและตรวจนับกล้าไม้ภายในโรงเรือนเพาะชำฯ ของสถานีฯ
  3. งานประชาสัมพันธ์และเครือข่าย REDD+
    – ต้อนรับ ท่าน ดร. จตุรเทพ โควินทวงศ์ พร้อมคณะฯ จากส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ (กรม อส ) ตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ REDD + ประชุมเสนอผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค เพื่อหาแนวทางการแก้ไข และตรวจเยี่ยมแปลงเพราะชำกล้าไม้ พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมบ้านเมืองอาง หมู่ที่ 9 และบ้านแม่แอบใน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
  4. งานประชุมและอื่นๆ
    – ช่วยงานเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ ดอยดำ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
    – เข้าร่วมฟังงานสัมมนาออนไลน์ของ Carbon Markets Club ในหัวข้อ คาร์บอนเครดิต จากป่าไม้ ทำได้อย่างไร บรรยายโดย ดร ธนพงศ์ ดวงมณี ผอ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
    – ร่วมกิจกรรม”ตามรอยกุหลาบพันปี” ณ บริเวณกิ่มแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

นายอานนท์ กุลนิล
หัวหน้าศูนย์ฯ / รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรมดังนี้
1.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่เด็กนักเรียน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง บ้านพอกะทะ บ้านกุยเคล๊อะ และบ้านกุยต๊ะ พร้อมครูประจำศูนย์การเรียน รวมจำนวน 51 คน ณ อาคารเอนกประสงค์ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ โดยให้ความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้แจกเอกสาร (สมุดเรดด์พลัส) แก่เด็กนักเรียนทุกคนๆละ 1 เล่ม
2.จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ โดยเด็กนักเรียนและครู ร่วมกับเจ้าหน้าที่ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า เนื่องในวันเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565. บริเวณศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ เนื้อที่ประมาณ 11 ไร่ กล้าไม้ 1,000 ต้น
3.มอบกล้าไม้ จำนวน 100 ต้น เพื่อปลูกในพื้นที่ศูนย์การเรียนฯ บ้านกุยต๊ะ

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ขอรายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2565
ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี,ศาลหลักเมืองจันทบุรี,สโมสรไลน์ออนจันทบุรี,สมาคมคืนรากแก้วสู่ดิน,หน่วยงานและชมชนต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกีรยติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ปลูกต้น ทองอุไร 500 ต้น ณ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ (สวนพ่อ) ต.ท่าหลวง อ.มะขาม จ.จันทบุรี
นายนาท ตุ่นสิงห์คำ : รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานการปฏิบัติงาน ประจำเดือน 11 – 17 กรกฎาคม 2565 

  1. งานปรับปรุงและพัฒนา
    – ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
    – จัดทำบอร์ดทำเนียบผู้บริหาร ภายในอาคารศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้
  2. งานเพาะชำกล้าไม้
    – เพราะชำกล้าไม้ฯ สำหรับการส่งเสริมเครือข่ายฯ
  3. งานประชาสัมพันธ์และเครือข่าย REDD+
    – ติดตาม และสอบถาม ข้อมูล REDD+ เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลฯ หมู่บ้านเมืองอาง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
  4. งานประชุมและอื่นๆ
    – ข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเบื้องต้น ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
    – เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์พระมหาธาตุเจดีย์ “รัฒนเจดีศรีภูผาสุชามณี” ณ สำนักสงฆ์ผาหมอน หมู่ที่ 8 บ้านผาหมอน ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    – เข้าร่วมประชุมติดตามผลการจัดทำเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ เพื่อประกอบแผนที่ท้ายพระราชกฤษฏีกา ณ ห้องประชุมอุทัย จันผกา ส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)
    – เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องไฟป่า และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงานไฟป่า โครงการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเบื้องต้น ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

นายอานนท์ กุลนิล
หัวหน้าศูนย์ฯ / รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเลย) รายงานผลการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1 – 15 มิถุนายน พ.ศ.2565 

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเลย)
รายงานผลการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1 – 15 มิถุนายน พ.ศ.2565

  1. ร่วมกิจกรรมวันเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ
  2. แจกจ่ายกล้าไม้ให้กลับ หน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่
  3. ดำเนินการ ผสมดิน กรอกถุง เตรียมเพราะชำกล้าไม้
  4. กำจัดวัชพืชบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  5. กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงสาธิต

นายเสกสรร จันทรเนตร
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ (จ.เลย) / รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการดำเนินกิจกรรม
วันที่ 13 มิถุนายน 2565 เตรียมพื้นที่แปลงปลูกป่า โดยการตัดหญ้า จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ และเตรียมหลักสเต๊ก
วันที่ 14 มิถุนายน 2565 ร่วมปลูกต้นไม้กับราษฎร บ้านเกริงปะตีคลี่ หมู่ที่ 9 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ผู้ใหญ่บ้าน ครู และเด็กนักเรียนศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง บ้านเกริงปะตีคลี่ และพระสงฆ์ ประจำที่พักสงฆ์ในหมู่บ้าน โดยนำกล้าไม้จากศูนย์ขับเคลื่อนฯ จำนวน 1,100 ต้น และขอรับการสนับสนุนจากโครงการพระราชดำริ บ้านมะโอโค๊ะ จำนวน 1,000 ต้น รวมกล้าไม้ทั้งหมด จำนวน 2,100 ต้น ปลูกในพื้นที่ทำกินที่ราษฎรมอบคืนให้ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และปลูกเสริมป่าในพื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาฯ อีกประมาณ 5 ไร่ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดสภาวะโลกร้อน ภายใต้การดำเนินโครงการเรดด์พลัส

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 6 – 12 มิถุนายน 2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

รายงานการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 6 – 12 มิถุนายน 2565

  1. งานปรับปรุงและพัฒนา
    – ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
    – ซ่อมแซม และปรับปรุง เรือนเพาะชำกล้าไม้
  2. งานเพาะชำกล้าไม้
    – ปรับปรุง คัดแยก และบำรุง กล้าไม้ในเรือนเพาะชำ
    – จัดเตรียมส่วนผสมดินเพราะชำฯ (แกลบเผา) สำหรับเพราะชำกล้าไม้
  3. งานประชาสัมพันธ์และเครือข่าย REDD+
    – ส่งเสริมกล้าไม้ให้หมู่บ้านเครือข่ายฯ บ้านแม่กลางหลวง หมู่ที่ 17 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้และเก็บเป็นฐานข้อมูล
    – ตรวจเยี่ยม และติดตามหมู่บ้านเครือข่ายไฟป่า บ้านแม่กลางหลวง หมู่ที่ 17 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง และบ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
    – ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ หมู่บ้านเครือข่ายฯ บ้านหนองหล่ม หมู่ที่ 22 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเก็บเป็นฐานข้อมูล
  4. งานประชุมและอื่นๆ
    – ประชุมหารือการทำโครงการศึกษาวิจัย ณ ห้องประชุมอุทัย จันผกา ส่วนจัดการต้นน้ำ (สบอ 16) โดยมีนายชาติชาย นาคทิพวรรณ ผอ. ส่วนจัดการต้นน้ำ เป็นประธาน
    – จัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ ร่วมค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่อุทยานฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายอานนท์ กุลนิล
หัวหน้าศูนย์ฯ / รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม ระหว่างวันที่ 4-10 มิถุนายน พ.ศ.2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)
รายงานการดำเนินกิจกรรม ระหว่างวันที่ 4-10 มิถุนายน พ.ศ.2565

  1. ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ ขนส่งกล้าไม้ไปยังบ้านเกริงปะตีคลี่ หมู่ที่ 9 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งเป็นหมู่บ้านข้างเคียงกลุ่มบ้านเป้าหมายโครงการเรดด์พลัส เพื่อร่วมกับชุมชนปลูกป่าลดโลกร้อน จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่
  2. ร่วมประชุมประจำเดือนเครือข่ายผู้นำ และคณะกรรมการ 7 กลุ่มบ้าน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการปฏิบัติงานในเดือนต่อไป
  3. ปรับปรุงเรือนเพาะชำโครงการเรดด์พลัส ณ ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เพื่อรองรับเด็กนักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยว ร่วมเพาะกล้าไม้ ภายใต้กิจกรรม “เที่ยวได้ ให้ด้วย ช่วยลดโลกร้อน”
  4. จัดกิจกรรมเพาะกล้าไม้ ณ เรือนเพาะชำโครงการเรดด์พลัส เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง โดยมีนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน อ.อุ้มผาง จำนวน 50 คน ร่วมกิจกรรมเพาะกล้าไม้ จำนวน 452 กล้า ได้แก่ แดง 390 กล้า และอโศกเหลือง หรือ ศรียะลา 62 กล้า

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)
ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 1-6 มิถุนายน พ.ศ.2565

  1. เตรียมดินเพื่อเพาะชำกล้าไม้
  2. ปรับภูมิทัศน์ ดูแลความสะอาดรอบบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  3. จัดทำฐานข้อมูลต้นไม้ป่าของชุมชน
  4. ซ่อมแซมเรือนเพาะชำ (เนื่องจากมีช้างป้ามาเยี่ยมชมและเดินผ่าน)

    นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
    รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

รายงานการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 – 5 มิถุนายน 2565

  1. งานปรับปรุงและพัฒนา
    – จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับปรับปรุง ซ่อมแซมโรงเรือนเพราะชำกล้าไม้
    – ซ่อมแซม และปรับปรุง เรือนเพาะชำกล้าไม้
  2. งานเพาะชำกล้าไม้
    – เคลียร์ถุงดิน เพื่อเตรียมแปลงฯ สำหรับเพราะชำกล้าไม้
    – รับการสนับสนุนและจัดเตรียมกล้าไม้ สำหรับการส่งเสริมเครือข่ายฯ
  3. งานประชาสัมพันธ์และเครือข่าย REDD+
    – ส่งเสริมกล้าไม้สำหรับบ้านเครือข่ายฯ บ้านเมืองอาง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ปลูกในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้และเก็บเป็นฐานข้อมูล
    – ส่งเสริมกล้าไม้สำหรับบ้านเครือข่ายฯ บ้านหนองหล่ม หมู่ที่ 22 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเก็บเป็นฐานข้อมูล
    – ตรวจเยี่ยม และตรวจติดตามแปลงข้อมูลฯ บ้านเครือข่ายไฟป่า และบ้านในโครงการ REDD+ บ้านแม่แอบ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    – ออกประชาสัมพันธ์ หมู่บ้านเครือข่ายฯ ให้ความรู้เรื่องไฟป่า และ ความรู้ REDD+
  4. งานประชุมและอื่นๆ
    – เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการของอำเภอจอมทอง
    – ประชุมชี้แจง แผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2565
    – ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา​ ฟื้นฟูบ้านเรือนผู้ประสบอุทกภัย เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ณ องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    – จัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่อุทยานฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายอานนท์ กุลนิล
หัวหน้าศูนย์ฯ / รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)
รายงานการดำเนินกิจกรรม
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2565 ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ และชุมชน หมู่ 2 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก จัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2565 บริเวณต้นน้ำ น้ำตกทีลอซู โดยได้สนับสนุนกล้าไม้ที่นักท่องเที่ยว และเด็กนักเรียน เพาะไว้ภายใต้โครงการเรดด์พลัพ ณ เรือนเพาะชำศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ (จังหวัดตาก) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จำนวนกล้าไม้ที่เกิดจากกิจกรรมเพาะกล้าไม้ดังกล่าว 1,482 ต้น และขอรับการสนับสนุนกล้าไม้จากโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดตาก อีกจำนวน 700 ต้น รวมกล้าไม้ทั้งหมด จำนวน 2,182 ต้น เนื้อที่ปลูกประมาณ 12 ไร่
วัตถุประสงค์ : เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ น้ำตกทีลอซู เพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสภาวะโลกร้อน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก)
กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11
รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม-3 มิถุนายน พ.ศ. 2565

  1. ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯได้ดำเนินการสนับสนุนแจกจ่ายกล้าไม้ให้กับราษฎรในชุมชน และหน่วยงาน ตามแนวทางการปลูกไม้ 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคป่าไม้ และชุมชนที่พึ่งพิงป่า
  2. ติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้และปลูกซ่อม ของผู้เข้าร่วมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้ ของปีงบประมาณ พ.ศ.2562
  3. กิจกรรมดูแลรักษากล้าไม้ (ข้ามปี) และกล้าไม้ ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยได้ดำเนินการ ผสมดิน กรอกถุง และย้ายชำกล้าไม้
  4. ดูแลรักษาและปลูกต้นไม้ภายในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  5. กิจกรรมดายวัชพืชภายในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
    นางสาวมยุรา ศรีสมบูรณ์ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ

ผู้รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี)
รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565

  1. วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 เข้าร่วมประชุมประจำเดือนหมู่บ้านแม่กระบุง หมู่ 2 ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
  2. วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 เข้าร่วมประชุมประจำเดือนหมู่บ้านน้ำมุด หมู่ 3 ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
  3. วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เข้าร่วมประชุมคณะทำงานการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุมเอราวัณ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี
    4.ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงทัศนียภาพศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี) เช่น ตัดหญ้า กำจัดวัชพืช กวาดใบไม้ ตัดแต่งต้นไม้ ทำความสะอาดครุภัณฑ์ ทำความสะอาดโดยรอบ เป็นต้น
  4. ซ่อมเสาธงที่หักลงเนื่องจากโดนพายุฝน ทำที่ล้างจานใหม่ และถอนเสาปูนจากโรงเพาะชำเก่ามาเก็บไว้เพื่อใช้งานต่อไป
  5. ขอรับสนับสนุนกล้าไม้เพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. ทำการดูแล รดน้ำ กล้าไม้ป่าที่คงค้างจากปีที่แล้วเพื่อเตรียมการปลูกในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ต่อไป
    8.เพาะกล้าไม้ป่าจากเมล็ดไม้ที่เก็บและย้ายกล้าไม้ที่เพาะเพื่อเตรียมกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่สนใจต่อไป
    9.เตรียมพื้นที่ปลูกกล้าไม้ป่าภายในศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี)

นางสาวสิริภรณ์ ครวญหา นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ หัวหน้าศูนย์ฯ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

รายงานการปฏิบัติงาน ประจำเดือนพฤษภาคม 2565

  1. งานปรับปรุงและพัฒนา
    – ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
    – ซ่อมแซม และปรับปรุง เรือนเพาะชำกล้าไม้ฯ
    – ปรับปรุงห้องทำงาน จัดทำโต๊ะประชุม และจัดทำป้ายชื่อศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  2. งานเพาะชำกล้าไม้
    – ปรับปรุง คัดแยก และบำรุง กล้าไม้ในเรือนเพาะชำฯ
    – รับการสนับสนุนและจัดเตรียมกล้าไม้ สำหรับการส่งเสริมเครือข่ายฯ
    – เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า สำหรับการเพาะชำ
  3. งานประชาสัมพันธ์และเครือข่าย REDD+
    – ส่งเสริมกล้าไม้สำหรับบ้านเครือข่าย ปลูกในวันต้นไม้แห่งชาติ (วันวิสาขบูชา) พร้อมเก็บเป็นฐานข้อมูล
    – ส่งเสริมกล้าไม้สำหรับหน่วยงาน กศน อำเภอจอมทอง ในวันแรกการเปิดเรียน พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้
    – ออกประชาสัมพันธ์ หมู่บ้านเครือข่าย ให้ความรู้เรื่องไฟป่า และ ความรู้ REDD+
    – เข้าร่วมกิจกรรมประเพณี เครือข่ายลุ่มน้ำภูมินิเวศน์ดอยอินทนนท์ ณ ศูนย์เรียนรู้การจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนดอยอินทนนท์ฯ
  4. งานประชุมและอื่นๆ
    – เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการของอำเภอจอมทอง และอำเภอแม่แจ่ม
    – ประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เพื่อวางระบบการดำเนินงานด้าน REDD + ใหม่ พร้อมทั้งเน้นการเก็บข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลใหม่
    – จัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่อุทยานฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายอานนท์ กุลนิล
หัวหน้าศูนย์ฯ / รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่)

รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 16-31 พฤษภาคม 2565

  1. ตัดแต่งกล้าไม้สักในเรือนเพาะชำ/ตัดหญ้าและแผ้วถางวัชพืชไม้ผลในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  2. เก็บหาเมล็ดไม้ (มะม่วงแก้ว) เพื่อจะได้เพาะชำในฤดูฝนนี้
  3. จัดเตรียมเมล็ดสัก โดยนำมาตากแดดแล้วกระเทาะเปลือก ป้องกันเชื้อรา เพื่อเตรียมหว่านในฤดูฝนนี้
  4. แผ้วถางวัชพืชรอบโคนต้นไม้ที่ปลูก ในพื้นที่แปลงสาธิต
  5. กำจัดวัชพืชแปลงสาธิต

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)
ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 27-30 พฤษภาคม พ.ศ.2565

  1. ออกสำรวจติดตามวัดความเจริญเติบโตของต้นไม้ป่าของชุมชน
  2. ประสานงานหน่วยงานที่เพาะชำกล้าไม้ป่า พร้อมประชาสัมพันธ์ชุมชนในเครือข่ายกิจกรรมเรดด์พลัสขอรับกล้าไม้ ณ หน่วยจัดการตันน้ำคลองทราย ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี 1 ราย จำนวนกล้าไม้ 600 ต้น
  3. ตัดหญ้าถางวัชพืชดูแลสถานที่บริเวณศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
    นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
    รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพัทลุง)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพัทลุง)
ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา)

รายงานผลการปฎิบัติงานระหว่าง วันที่ 23 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

  1. ดูแลต้นไม้และทำความสะอาดเรือนเพาะชำกล้าไม้ และบริเวณรอบฯ ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  2. ลงพื้นที่ปลูกต้นไม้ให้กับเครือข่าย หมู่ที่ 7 บ้านขาม ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์
  3. รวบรวมและลงข้อมูลต้นไม้ของเครือข่าย

นางสาวเปรมฤดี ปราชญาวงศ์ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ผู้รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)
ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 22-26 พฤษภาคม พ.ศ.2565

  1. เตรียมดินเพื่อเปลี่ยนถุงกล้าไม้
  2. ตัดหญ้า ดูแลต้นไม้รักษาความสะอาดพื้นที่ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  3. ขยายพันธุ์ไผ่เลี้ยง ไผ่สร้างไพรจะมีกอใหญ่แต่ดูโปร่ง กิ่งแขนงด้านล่างไม่มี ลำไม้ไผ่สวย ขนาดสูงยาว ประโยชน์ของไผ่สร้างไพร หน่อนำมาป็นอาหาร ลำต้นนำไม้มาใช้ทำบันได โรงเรือน นั่งร้าน รั้วบ้านรั้วสวน หรือคอกสัตว์ต่างๆได้เป็นอย่างดี

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รายงาน