ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)
ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ขอรายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่
21 พฤษภาคม พ.ศ.2565
ได้ไปขอรับกล้าไม้ ณ หน่วยจัดการต้นน้ำคลองทราย ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โดยมีชุมชนไปรับกล้าไม้ จำนวน 3 ราย ดังนี้

  1. นายประมวล ระดาไสย ม.2 บ้านคลองกะทา ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
  2. นางอาภรณ์ พวงภู่ ม.2 บ้านคลองกะทา ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
  3. นายธนาโรจ ป้องกัน ม.1 บ้านปะตง ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
  4. ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้
    จำนวนกล้าไม้ทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่
  5. หวาย 1,020 ต้น
  6. พะยูง 1,280 ต้น
  7. ตะเคียนทอง 1,260 ต้น
  8. ยางนา 1,850 ต้น
  9. มะค่า 100 ต้น
  10. สำรอง 180 ต้น
  11. ตะแบก 2 ต้น
    รวมยอดกล้าไม้ 5,692 ต้น

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)
ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 15 – 18 พฤษภาคม พ.ศ.2565

  1. ขุดหลุมทรายเพื่อเตรียมเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้
  2. กรอกดินเพื่อเตรียมเพาะเมล็ดพันธ์ุไม้
  3. จัดทำฐานข้อมูลต้นไม้ป่าของชุมชน
  4. ทาสีเสาป้ายศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  5. ประสานงานหน่วยงานที่เพาะชำกล้าไม้ป่า พร้อมประชาสัมพันธ์ชุมชนในเครือข่ายกิจกรรมเรดด์พลัสขอรับกล้าไม้ ณ หน่วยจัดการตันน้ำคลองทราย ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ในวันที่ 20 – 21 พ.ค.2565

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)
รายงานการดำเนินกิจกรรม

  1. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “คนกับป่า” ชุมชน 7 กลุ่มบ้าน และชุมชนเครือข่าย รวมประมาณ 200 คน ณ ศาลาประชุมศูนย์ขับเลื่อนและเรียนรู้ฯ (จ.ตาก) โดยศูนย์มานุษย์วิทยาสิรินธร เป็นผูดำเนินการจัดประชุม
  2. ร่วมกับเยาวชนบ้านกุยเลอตอตัดหญ้าในแปลงสาธิต พร้อมติดป้ายแปลงสาธิตบ้านกุยเลอตอ และบ้านกุยต๊ะ

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ประโยชน์ของป่าไม้ ทางอ้อม

ประโยชน์ทางอ้อมของป่าจะคิดคำนวณออกมาเป็นเงินได้ยาก และมนุษย์มักจะมองไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ แต่มีความสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกับประโยชน์ทางตรงประโยชน์ทางอ้อมของป่า ได้แก่
1) ป่าทำให้น้ำไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดปี และมีคุณภาพดี เนื่องจากต้นไม้ในป่าจะดูดซับน้ำเอาไว้เมื่อฝนตกลงมาและทำให้ค่อยๆ ซึมลงดินสะสมน้ำไว้ใต้ดิน แล้วค่อยๆปล่อยออกสู่ห้วยธาร
2) บรรเทาความรุนแรงของลมพายุ ป่าไม้เป็นฉากกำบังที่จะช่วยลดความเร็วของลมพายุซึ่งจะสามารถบังได้มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับ ความสูง ความหนาแน่นของหมู่ไม้และเรือนยอดของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดว่ามีความแน่นทึบเพียงใด ต้นไม้ที่เป็นแนวกันลมสูงจากพื้นดิน 2 ฟุต จะสามารถลดความเร็วของลมพายุให้เหลือเพียงร้อยละ 20 และแนวกันลมจะสามารถป้องกันลมคิดได้เป็นระยะทางเท่ากับ 20 – 25 เท่าของความสูงต้นไม้นั้นในด้านใต้ลม และ 3 เท่าในด้านเหนือลม (Allen,1959 อ้างโดย นิวัติ, 2548)
3) ป้องกันการพังทลายของดิน เรือนยอดของป่าไม้จะสกัดกั้นความรุนแรงของฝนที่ตกลงมามิให้กระทบผิวดินโดยตรง น้ำบางส่วนจะค้างอยู่ตามเรือนยอดของต้นไม้ บางส่วนจะไหลไปตามลำต้น บางส่วนจะตกทะลุเรือนยอดลงสู่พื้นป่า บริเวณพื้นป่ามักจะมีเศษไม้ใบไม้และซากเหลือต่างๆ ของทั้งพืชและสัตว์คอยดูดซับน้ำฝนและชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่า ทำให้ลดการพังทลายของดิน ประกอบกับดินป่าไม้มักจะเป็นดินดีมีอินทรียวัตถุสูง มีการดูดซับน้ำได้ดีน้ำจึงซึมลงดินได้มาก ทำให้น้ำไหลบ่าลดลง
4) บรรเทาอุทกภัย การทำลายป่านอกจากจะทำให้เกิดการพังทลายของดิน ยังทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำลำธารเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และน้ำที่ไหลมาจะขุ่นข้นเพราะเต็มไปด้วยกรวดทรายและดินตะกอนต่างๆ เมื่อไหลลงไปถึงลำน้ำ ก็ทำให้ระดับน้ำในลำน้ำนั้นๆ สูงขึ้นอย่างรวดเร็วหากล้นตลิ่งก็จะกลายเป็นอุทกภัยทำลายสวนไร่นา และบ้านเรือนสองฝั่งน้ำ ให้เสียหายได้หิน กรวดทราย และตะกอนที่น้ำพัดพามาจะกัดเซาะตลิ่งพังหรือทำให้สายน้ำต้องเปลี่ยนทิศทางและทำให้ลำน้ำตื้นเขินอย่างรวดเร็ว เมื่อลำน้ำตื้นเขินความจุย่อมจะลดลง พอมีฝนตกและมีน้ำไหลบ่าเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอุทกภัยขึ้นได้ง่าย และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
5) เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ป่าไม้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ที่มนุษย์ใช้เป็นอาหาร เป็นเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ สัตว์ป่าบางชนิดมีประโยชน์ต่อการค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นกและแมลงบางชนิดเป็นประโยชน์ในการทำลายศัตรูพืชและช่วยในการรักษาความสมดุลของธรรมชาติหากไม่มีป่าสัตว์ป่าอาจสูญพันธุ์ เพราะจะไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร นอกจากนี้สัตว์ป่ายังเป็นทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวและศึกษาธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้อย่างหนึ่งของประเทศ
6) เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ป่าไม้บางแห่งมีทิวทัศน์สวยงาม มีความสงบ ร่มเย็น มีอากาศบริสุทธิ์ จึงเป็นแหล่งเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ท่องเที่ยวของคน โดยเฉพาะคนที่อาศัยในเมืองที่จะต้องมีการประกอบอาชีพที่เคร่งเครียดย่อมต้องการการพักผ่อนเพื่อคลายความเครียด รัฐบาลจัดสถานที่พักผ่อนในป่าในรูปของอุทยานแห่งชาติวนอุทยาน
7) ป่าให้ความชุ่มชื้น ป่ามีส่วนช่วยให้ฝนตกเพิ่มขึ้นและทำให้มีความชุ่มชื้นในอากาศสม่ำเสมอ ป่าไม้มีอิทธิพลช่วยทำให้มีฝนตกมากขึ้นเฉพาะที่เฉพาะแห่งแต่ไม่ใช่ทั่วไป เนื่องจากอากาศเหนือท้องที่ที่ป่าไม้ขึ้นอยู่มีความชุ่มชื้น และเย็นกว่าในที่ที่ไม่มีป่าไม้เมฆฝนที่ลอยผ่านมาเมื่อกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน ความชุ่มชื้นของอากาศ ปกติที่ที่มีป่าไม้จะมีความร่มเย็นกว่าในที่โล่งแจ้ง และมีไอน้ำจากการคายน้ำของต้นไม้มาก รวมทั้งไม่มีลมแรงภายในป่า จึงทำให้ความชุ่มชื้นของอากาศภายในป่าสูงกว่าที่โล่งแจ้งประมาณร้อยละ11เวลาอยู่ในป่าจึงรู้สึกชุ่มชื้นเย็นสบาย ไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน และไม่หนาวมากในฤดูหนาว
8) เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืช สัตว์ ที่จะเป็นแหล่งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่จะเป็นทุนในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
9) รักษาคุณภาพของอากาศ ต้นไม้ในป่าช่วยดูดซับฝุ่นละออง ดูดซับก๊าซที่เป็นมลพิษ สร้างออกซิเจน จึงทำให้อากาศบริสุทธ
10) ป่าช่วยรักษาอุณหภูมิ ร่มเงาของต้นไม้ช ่วยลดอุณหภูมิทำให้ลดการใช้พลังงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลภาวะในคราวเดียวกัน

ชนิดของป่าของประเทศไทย

  ป่าไม้ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ ป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forest) และป่าผลัดใบ (deciduous forest) และในแต่ละประเภทยังจำแนกเป็นป่าชนิดต่างๆ ดังนี้

  1. ป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดปีเนื่องจากต้นไม้ในป่าชนิดนี้เมื่อผลัดใบจะ ไม่ทิ้งใบพร้อมกันทั้งต้น จะมีใบอ่อนแตกใหม่มาแทนที่ใบเก่าเสมอ สามารถจำแนกได้เป็นชนิดใหญ่ๆ 5 ประเภท ดังนี้
         1.1) ป่าดงดิบ (Tropical evergreen forest)
         1.2) ป่าสนเขา (Pine Forest)
         1.3) ป่าชายเลน (Mangrove forest)
         1.4) ป่าพรุ (Peat Swamp forest)
         1.5) ป่าชายหาด (Beach forest)

   1.1) ป่าดงดิบเขตร้อน
เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีความชุ่มชื้นสูง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม มีปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยเกินกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ได้ทั้งใน ที่ราบ และที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือลงไปจนถึงภาคใต้สามารถแบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้น และระดับความสูงต่ำของภูมิประเทศ เป็น 3 ชนิด ได้แก่
  1.1.1) ป่าดงดิบชื้นโดยทั่วไปอาจเรียกว่า “ป่าดงดิบ” หรือ “ป่าฝน”
ลักษณะของป่าและไม้เด่น เป็นป่าที่เกิดในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกเกือบ ตลอดปีและมีความชุ่มชื้นในดินค่อนข้างสูง สม่ำเสมอทั้งปีสภาพโครงสร้างป่าจะรกทึบประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมาย หลายชนิด ไม้ชั้นบนส่วนใหญ่เป็นไม้ในวงศ์ยาง มีลำต้นสูงใหญ่ ตั้งแต่ 30 – 50 เมตร มีเถาวัลย์ปาล์ม หมาก หวายปรากฏอยู่มาก มีไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้ไผ่ต่างๆ บนต้นไม้ จะมีกล้วยไม้ชนิดต่างๆ รวมถึงมอส และ เฟิร์นขึ้นอยู่ทั่วไป รวมทั้งมีเถาวัลย์มากกว่า ป่าชนิดอื่นไม้เด่น ได้แก่ ไม้ในวงศ์ยาง-ตะเคียน เช่น ยางนา ยางเสี้ยน ยางมันหมูยางยูง ตะเคียนชันตาแมว ตะเคียนทอง ตะเคียนราก และไม้อื่นๆ เช่น กระบาก เคี่ยม ไข่เขียว สยา กาลอ หลุมพอ ตังหน เป็นต้น
ปัจจัยในการเกิดป่า มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปีความชื้นสูงมาก
บริเวณที่พบ ภาคใต้และฝั่งทะเลตะวันออก แถบจันทบุรีและตราดอาจพบในภาคอื่นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นมากๆและสามารถแบ่งโดยอาศัยความแตกต่างในด้านความสูงเหนือระดับน้ำทะเล
   1.1.2) ป่าดงดิบแล้ง
ลักษณะของป่าและไม้เด่น ป่าดงดิบแล้งมีลักษณะโครงสร้างคล้าย ป่าดงดิบชื้นคือมีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดปี แต่ในป่านี้จะมีชนิดพันธุ์ไม้ประเภทที่ ผลัดใบผสมแต่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศและความชุ่มชื้นในดินโครงสร้างของป่าประกอบไปด้วยเรือนยอด 3 ชั้น ไม้เด่นของเรือนยอดชั้นบนสูงตั้งแต่ 25 เมตร ขึ้นไป ได้แก่ ยางแดง ยางนา ยางปาย ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง เคี่ยมคะนอง ตาเสือ กระบก ลำไยป่า ดีหมีมะไฟ และ กระบาก ไม้สำคัญชนิดที่ไม่ผลัดใบ ได้แก่ มะค่าโมง ตะแบก พะยูงชิงชัน ชนิดไม้ผลัดใบ ได้แก่ สมพง ปออีเก้ง ซ้อ มะมือ ยมหิน ยมป่า สะเดาช้าง คงคาเดือด ตะแบกใหญ่ ตะแบกเกรียบ เสลาดอกขาว สอม เป็นต้น เรือนยอดรองมีความสูงประมาณ 10 -20 เมตร ประกอบไปด้วยไม้จำพวก พลองใบใหญ่ กระเบากลักหรือหัวค่าง ลำดวน และไม้สกุล Diospyros ไม้ชั้นล่าง มักมีความสูงไม่เกิน 5 เมตร ประกอบด้วย ข่อยหนาม หมักม่อ เข็มขาวเป็นต้น ตามพื้นป่า จะมีลูกไม้ของพวกไม้เด่น ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น รวมทั้งขิง ข่ากระเจียวหวาย และเถาวัลย์พบกล้วยไม้บนต้นไม้ 
ปัจจัยในการเกิดป่า กระจายตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขา และหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 – 600 เมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี
บริเวณที่พบ กระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะภาคที่มีฤดูแล้งระหว่าง 4 – 6 เดือน ได้แก่ภาคกลาง บางส่วนของภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ
1.1.3) ป่าดงดิบเขา
ลักษณะของป่าและไม้เด่น เป็นป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่ระดับความสูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่ามีเรือนยอดแน่นทึบ มีไม้พื้นล่าง หนาแน่นเหมือนป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง บนที่ต่ำ แต่แตกต่างกันในองค์ประกอบ ของพรรณไม้ ไม้เด่นได้แก่ ไม้ในสกุลก่อ เช่น ก่อเดือย ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อตลับ ก่อหนาม ก่อแหลม และพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (จิมโนสเปอร์ม) และไม้อื่นๆ เช่น เมี่ยง เหมือดคน มณฑา จำปีหลวง ฮ้อมช้าง มะขามป้อมดง กำลังเสือโคร่ง กายอม จุมปีพญาไม้ สารภีดง ชมพูภูพาน กุหลาบขาว และกุหลาบแดง เป็นต้น และปาล์ม เช่น ค้อ เต่าร้างภูคา ไม้พื้นล่าง เฟินบัวแฉก มะพร้าวเต่า
ปัจจัยในการเกิดป่า มีปริมาณน้ำฝน 1,500– 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
บริเวณที่พบ กระจายตามยอดเขาสูงทั่วทุกภาคของประเทศ ใต้สุดปรากฏที่ยอดเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ส่วนมากจะอยู่ตามบริเวณยอดเขาทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว และดอยปุย เป็นต้น ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบบ้าง เช่น เขาใหญ่ ภูกระดึง และยอดเขา อื่นๆ ที่มีความสูงเกินกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป

     1.2) ป่าไม้สนเขา (Lower montane coniferous forest)
เป็นป่าไม้ที่มีกลุ่มไม้เนื้ออ่อนจำพวก conifer หรือไม้สนเขาโดยทั่วไป ป่าสนเขาชอบขึ้นอยู่ตามสันเขา ที่มีอากาศหนาวเย็น และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ส่วนมากจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลในช่วง200–1,800 เมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000–1,500เมตร ต่อปีสภาพป่ามีลักษณะ เป็นป่าโปร่ง ป่าชนิดนี้จะกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ส่วนมากจะพบในภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก และเพชรบูรณ์และบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดเลย ศรีสะเกษ สุรินทร์และอุบลราชธานีเป็นต้น หากมีไฟไหม้บ่อยๆ จะมีสภาพเหมือนป่าทุ่ง เช่นที่ ภูกระดึง และทุ่งแสลงหลวง เป็นต้น องค์ประกอบของชนิดไม้ขึ้นอยู่เพียงไม่กี่ชนิด มีสนสองใบ และ สนสามใบ เป็นไม้เด่น มีไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นร่วมได้แก่ พญาไม้สนสามพันปี สนใบพาย ขุนไม้ซางจิง ในบางพื้นที่ ดินเป็นดินลูกรังก็จะเป็นป่าเต็งรัง มีเหียง พลวง ไม้ในวงศ์ก่อ ขึ้นผสมไม้สน และไม้พุ่ม เช่น พิกุลป่าเข็มป่า มะห้า ขางแดง กำลังช้างสาร ปรงเขา และกุหลาบขาว เป็นต้น

     1.3) ป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง (Mangrove forest)
ป่าชายเลนเป็นป่าที่ขึ้นอยู่ในที่ดินเลนริมทะเล ตามบริเวณปากน้ำที่มีน้ำทะเลท่วมถึงและตามเกาะต่างๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูล แถบอ่าวไทย ตั้งแต่สมุทรสงคราม ถึงตราด จากเพชรบุรีถึงนราธิวาส ป่าชายเลนมีลักษณะโครงสร้างของป่าและองค์ประกอบของพรรณไม้ โดยเฉพาะ มีไม้เด่นได้แก่ : โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ซึ่งทั้งสองชนิดนี้จะมีรากค้ำยัน (buttress root หรือ stilt root) ออกมาจากโคนต้น บางชนิด เช่น แสม ลำพู ประสัก จะมีรากอากาศโผล่พ้นพื้นดินเลน เรียกว่า รากหายใจไม้ชนิดอื่นๆ เช่น พังกาหัวสุม โปรงขาว โปรงแดงและรังกะแท้เป็นต้น

     1.4) ป่าพรุหรือป่าบึง (Peat Swamp forest)
เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) มีที่มีสภาพเป็นแอ่งน้ำจืดขังติดต่อมานานหลายๆปี มีการสะสมของชั้นอินทรีย วัตถุหรือดินอินทรีย์ที่หนามากหรือน้อยอยู่เหนือชั้นดินแท้ๆ การสะสมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในสภาวะที่น้ำท่วมขังที่ได้จากน้ำฝนในแต่ละปี ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำ ตามหนอง บึง ส่วนมากอยู่บริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย มากกว่า2,000 มิลลิเมตรต่อปี การที่พืชพรรณต่างๆ ต้องดำรงชีพอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำขังชื้นแฉะ อยู่เช่นนี้ ทำให้เกิดการปรับตัว และมีลักษณะพิเศษเช่น ที่โคนต้นมักจะมีพูพอน ระบบรากส่วนใหญ่ จะเป็นรากแขนงแผ่กว้าง และแข็งแรง มีระบบรากพิเศษหรือระบบรากเสริม เช่น รากหายใจ เพื่อช่วย ในการหายใจ และรากค้ำยัน ช่วยในการพยุงลำต้น สามารถจำแนกตามสภาพแวดล้อมออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
          1.4.1) ป่าบึงน้ำจืดหรือป่าบุ่ง ป่าทาม (freshwater swamp forests)
ลักษณะของป่าและไม้เด่น ป่าบึงน้ำจืดแตกต่างจากป่าพรุ คือ ป่าพรุ จะเกิดบนพื้นที่เป็นแอ่งรูปกระทะ ที่มีการสะสมถาวรของซากพืชหรืออินทรีย์วัตถุที่ไม่ผุสลายแช่อยู่ในน้ำจืดที่ได้รับจากฝนเป็นส่วนใหญ่ ป่าบึงน้ำจืดเกิดตามที่ราบสองฝั่งแม่น้ำและลำน้ำสายใหญ่ในภาคใต้และภาคกลาง และป่าบึงน้ำจืดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำมูล ชีเรียกว่า ป่าบุ่ง-ทาม พื้นที่เป็นแอ่งมีน้ำขังเรียกว่า บุ่ง พื้นที่ดอนมีต้นไม้ใหญ่น้อยเรียก ทามป่าบึงน้ำจืดได้รับน้ำจืดที่เอ่อล้นตลิ่งลำน้ำ ในฤดูน้ำหลาก บนพื้นป่าไม่มีการสะสมของ อินทรียวัตถุอย่างถาวร เนื่องจากซากพืชถูก น้ำพัดพาไปกับกระแสน้ำหลากที่แปรปรวน อยู่เสมอ ลักษณะโครงสร้างของป่าจะ แตกต่างไปในแต่ละท้องที่ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำ ปริมาณน้ำในฤดูน้ำหลาก และ สภาพของดิน ป่าบึงน้ำจืดบนฝั่งที่เป็นที่ราบในฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำค่อนข้างสูง จะมีต้นไม้ปกคลุม พื้นที่เป็นกลุ่มๆ กระจัดกระจายและต้นไม้ มีความสูงไม่มากนัก พื้นล่างเป็นพืชจำพวก หญ้าและกก ส่วนพื้นที่ดอนที่น้ำท่วมถึงเป็น ครั้งคราวในระยะเวลาสั้นๆ จะพบกลุ่มไม้ ต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ปกคลุมพื้นที่หนาแน่น ติดต่อเป็นผืนใหญ่ ไม้ต้นที่พบทั่วไปในป่าบึงน้ำจืด เช่น กรวยสวน กันเกรา กระเบาใหญ่ ตะขบน้ำ สักน้ำ ชุมแสง สะแก มะม่วงปาน เฉียงพร้านางแอ อินทนิลน้ำ พิกุลพรุ นาวน้ำ คาง หว้า แฟบน้ำ ส้านน้ำ สำเภา เทียะจิกหรือกระโดนน้ำ อินทนินน้ำ โสกน้ำ กระทุ่ม และระกำป่า เป็นต้น
ปัจจัยในการเกิดป่า พื้นที่น้ำขังหรือน้ำท่วม
บริเวณที่พบ ภาคใต้(แม่น้ำตาปี) ภาคกลาง (แม่น้ำเจ้าพระยา สะแกกรัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มูล ชี) และเรียกว่าป่าบุ่งป่าทาม
          1.4.2) ป่าพรุ (Peat swamp forest)
ลักษณะของป่าและไม้เด่น เป็นป่าไม่ผลัดใบ ขึ้นอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นที่ลุ่มต่ำ มีสภาพเป็นแอ่งมีน้ำจืดขังอยู่ตลอดเวลา แตกต่างจากป่าบึงน้ำจืด โดยทั่วไปมีพื้นป่าพรุ จะมีการสะสมของอินทรียวัตถุอย่างต่อเนื่องถาวรจนเป็นดินอินทรีย์ (peat) อยู่เหนือชั้นดินแท้ๆ มีความหนาไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ส่วนป่าบึงน้ำจืดจะไม่มีการสะสมชั้นอินทรียวัตถุอย่างถาวร แต่จะมีการสะสมของดินตะกอนหรือดินเลน พืชพรรณที่ขึ้นอยู่ในป่าที่มีน้ำท่วมขังเหล่านี้มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยมีระบบรากแก้วสั้น โคนต้นมีพูพอน มีระบบรากพิเศษช่วยค้ำยัน และช่วยในการหายใจพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ช้างไห้อ้ายบ่าวจันทน์แดง ทุเรียนนก กราย เลือดควายใบใหญ่ มะมุด พิกุลพรุ เสม็ด ชุมพูป่าสะท้อนนก อ้ายบ่าว จันทน์ป่า ตันหยงป่าสะเตียว ขี้นอนพรุ กาบอ้อย และหว้า ชนิดต่างๆ เป็นต้น
บริเวณที่พบ ภาคใต้(พื้นที่แอ่งที่มีน้ำขัง เช่นป่าพรุโต๊ะแดง นราธิวาส ป่าพรุควนเคร็ง นครศรีธรรมราช) ภาคเหนือ (อ่างกาดอยอินทนนนท์ จ.เชียงใหม่)

      1.5) ป่าชายหาด (Beach forest)
เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเล โดยปกติน้ำทะเลจะท่วมไม่ถึง ส่วนมากจะเป็นเนินทราย (sand dune) บางแห่งจะเป็นดินกรวดปนทรายและโขดหิน หากบริเวณที่ฝั่งทะเลยกตัวสูงขึ้น และห่างฝั่งขึ้นมา หรือมีลักษณะสภาพคล้ายเกาะก็จะมีดินปนอยู่มาก อาจจะมีสภาพเปิดโล่งประกอบด้วย พงหญ้าไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก หรือมีสภาพเป็นป่าละเมาะ หรือสภาพเป็นป่าที่มีเรือนยอดชิดกัน พันธุ์พืชที่ขึ้นอยู่ในป่าชนิดนี้จะต้องเป็นพวกที่ทนต่อสภาพดินเค็ม และสามารถปรับตัวเข้ากับกระแสลมแรง ความแห้งแล้งและไอเค็มจากทะเล และมีพืชคลุมดินเกาะยึดทรายยื่นเป็นสายออกไป เช่น กระทิง โพทะเล ปอทะเล หูกวาง โกงกางหูช้าง ตีนเป็ดทราย เม่าจิกทะเล หมันทะเล โพกริ่ง หยีทะเล เทียนทะเล งวงช้างทะเล งาไซ ไม้พุ่มได้แก่ รักทะเล สำมะงาช้าเลือด คนธิสอทะเล หนามพุงตอ เตยทะเลหนามพรม ไม้เถาเช่น ผักบุ้งทะเล ดองดึงจั่นดิน หญ้าลอยลม และถั่วคล้า เป็นต้น

  1. ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) เป็นป่าไม้ที่ผลัดใบตามฤดูกาล ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000เมตร (ยกเว้นป่าเต็งรัง-ไม้สน) มีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 800–1,200 มิลลิเมตรต่อปีดินมักจะเป็นดินร่วนปนทราย ดินปนกรวด บางแห่งเป็นดินลูกรัง พันธุ์ไม้ที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่แถบนี้ส่วนใหญ่จะทิ้งใบในฤดูแล้ง และเริ่มแตกใบใหม่ในต้นฤดูฝน ไม้ในป่าประเภทนี้จะปรากฏวงปีที่ชัดเจน ความสูงของไม้ในป่าผลัดใบเฉลี่ยจะสูงประมาณ 20–25เมตร ซึ่งต่ำกว่าไม้ในป่าไม่ผลัดใบในฤดูแล้งจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำ ป่าชนิดนี้ไม่ปรากฏในภาคใต้ Smitinand (1977) ได้แบ่งป่าผลัดใบในประเทศไทย ออกเป็น 2 ชนิดหลัก คือ
    2.1 ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ (mixed deciduous forest)
    2.2 ป่าเต็งรัง (deciduous dipterocarps forest)

2.1 ป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ
เป็นป่าที่ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด ส่วนมากจะทิ้งใบในฤดูแล้งจนเหลือแต่กิ่งก้าน เนื่องจากในช่วงฤดูแล้งพืชขาดแคลนน้ำ ที่จะใช้ในการคายน้ำ จึงต้องปรับตัวโดยการทิ้งใบเพื่อลดการคายน้ำของต้นไม้มีลักษณะเป็นป่าโปร่งมากหรือน้อยประกอบด้วย ไม้ต้นขนาดใหญ่ขนาดกลางและขนาดเล็กปนกันหลากชนิด บางแห่งมีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ ป่าชนิดนี้ในบางพื้นที่จะมีไม้สัก เสลา ตะแบก รกฟ้าแสนคำ สมอพิเภก แดง ประดู่ผสมอยู่ พื้นดินมักเป็นดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้นในดินปานกลาง ป่าชนิดนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประกอบไปด้วยไม้มีค่ามากหมายหลายชนิดสามารถเข้าถึงและทำไม้ได้สะดวก รวมทั้งดิน และสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การทำการเกษตร ทำให้ป่าชนิดนี้ถูกบุกรุกทำลายจากการลักลอบตัดไม้และแผ้วถางใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตร

2.2 ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าโคกหรือป่าแพะ
พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประมาณร้อยละ 80 ของป่าชนิดนี้) ภาคเหนือ และภาคกลาง ไม่ปรากฏว่ามีป่าชนิดนี้ในภาคใต้และภาคตะวันออกนอกจากหมู่ไม้เหียง ที่พบเห็นอยู่บ้างที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลักษณะของป่าชนิดนี้มีสภาพป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ผลัดใบขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นห่างๆ กระจัดกระจายไม่ค่อยแน่นทึบ พื้นป่ามีหญ้าและไผ่แคระจำพวกเพ็ก ไผ่โจด ขึ้นทั่วไป มีลูกไม้ค่อนข้างหนาแน่น ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและบนภูเขาที่มีความสูง 50–1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นดินทราย และดินลูกรัง บางแห่งจะมีหินโผล่ และเกิดไฟไหม้ป่าทุกปีทำให้ต้นไม้ต้องปรับตัว ดังนั้น ต้นไม้ที่ดำรงชีพอยู่ได้จึงเป็นไม้ที่มีเปลือกหนา ทนไฟ และทนความร้อนได้ดีรวมทั้งมีความสามารถในการแตกหน่อสูงไฟกับป่าเต็งรังจึงเป็นของคู่กัน ไฟเท่านั้นที่จะสามารถคงสภาพของป่าเต็งรังไว้ได้หากไม่มีไฟ ป่าเต็งรังก็จะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพไปเป็นป่าชนิดอื่น ชนิดไม้เด่น 5 ชนิดได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และกราด

10วิธีง่าย ๆ ลดโลกร้อน รู้หรือไม่ว่าคุณเองก็ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการดำเนินกิจกรรม

  1. ร่วมกับคณะกรรมการบ้านกุยเลอตอ ติดตามดูแลกลุ่มปลาตะพากขึ้นวางไข่ในวังปลากุยเลอตอ
  2. ประชุมประจำเดือนเครือข่ายคณะกรรมการ 7 กลุ่มบ้าน ณ.พื้นที่เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหม่องกั๊วะ
  3. ดูแลต้นไม้ค้างปีในเรือนเพาะชำของศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  4. ติดตามการรอดตายของต้นไม้ในแปลงปลูกป่าที่พักสงฆ์บ้านกุยเลอตอ จำนวน 94 ต้น
  5. ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาวังปลา บ้านพอกะทะ

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่)รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 – 15 เมษายน 2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่)
รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 – 15 เมษายน 2565

กิจกรรมเรือนเพาะชำกล้าไม้

  1. ขุดและขนดิน สำหรับเตรียมผสมแกลบในการกรอกดินลงถุง
  2. กรอกดินและจัดเรียงในแปลงเพาะชำ
  3. เพาะเมล็ดไม้ (มะม่วงหิมพานต์)
  4. รดน้ำแปลงเพาะชำ
  5. ถอนวัชพืชแปลงเพาะชำ
  6. ตัดหญ้าแผ้วถางวัชพืชและรดน้ำต้นไม้ภายในบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
รายงาน

2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ สำนักวิจัยอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 16 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 16 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

  1. กรอกดินใส่ถุง และ เพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
  2. ตัดหญ้าแผ้วถางวัชพืชและรดน้ำไม้ประดับ
  3. ทำกิจกรรม 5 ส.
  4. ตกแต่งไม้ประดับและดูแลพืชผักสวนครัว
  5. ในวันที่ 30 มีนาคม 2565 ทำบุญสำนักงานศูนย์ขับเคลื่อนฯ โดยมีหัวหน้ากลุ่ม งานวิชาการ นายก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน 4หมู่ หัวหน้าหน่วยงานสนาม สบอ.13 หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ และตลอดจนเครือข่ายชุมชนเรดด์พลัส ไปร่วมงาน

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  1. ปรับปรุงซ่อมแซมเรือนเพาะชำกล้าไม้
  2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ ออกตรวจลาดตระเวนร่วมกับเครือข่ายคณะกรรมการ บ้านกุยเลอตอ และบ้านกุยต๊ะ เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน ดูแล กลุ่มปลาตะพากขึ้นวางไข่ บริเวณวังปลาในลำห้วยแม่จัน ของบ้านกุยเลอตอ และบ้านกุยต๊ะ

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพัทลุง) จัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้และห้องสมุดธรรมชาติ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ และกรอบงานเรดด์พลัส ระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพัทลุง) จัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้และห้องสมุดธรรมชาติ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ และกรอบงานเรดด์พลัส ระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพัทลุง) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมประกอบด้วยราษฎรในชุมชนโดยรอบศูนย์ฯ และเจ้าหน้าที่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯ รวม 20 คน โดยมีนายเฉลิมพันธ์ ยินเจริญ ผู้อํานวยการสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 เป็นประธานเปิดการฝึกอบรบ

นางสาวเปรมฤดี ปราชญาวงศ์
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 19 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 19 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565 รายละเอียดดังนี้

  1. กิจกรรมดูแลรักษากล้าไม้
  2. กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ ประจำปี พ.ศ.2565 โดยได้ดำเนินการ ผสมดิน กรอกถุง จัดเก็บเมล็ดไม้ และย้ายชำกล้าไม้
  3. ดูแลรักษาและปลูกต้นไม้ภายในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  4. ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  5. กิจกรรมดายวัชพืชภายในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  6. จัดเตรียมวัสดุ สำหรับกิจกรรมปลูกต้นไม้ ประจำปี พ.ศ.2565

นายอรรณพ ทิพยแสง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ฯ ผู้รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 19 – 24 มีนาคม พ.ศ.2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 19 – 24 มีนาคม พ.ศ.2565

  1. ตัดหญ้าในแปลงสาธิตฯ
  2. ตัดหญ้าทางเข้า – ออกศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  3. ตัดไม้ไผ่ซ่อมแซมโรงเพาะชำ
  4. ปรับเปลี่ยนและซ่อมแซมป้ายศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12 -18 มีนาคม พ.ศ.2565

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก)
รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12 -18 มีนาคม พ.ศ.2565

  1. กิจกรรมดูแลรักษากล้าไม้
  2. กิจกรรมเพาะกล้าไม้ ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยได้ดำเนินการ ผสมดิน กรอกถุง จัดเก็บเมล็ดไม้และย้ายชำกล้าไม้
  3. กิจกรรมดายวัชพืชภายในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  4. ดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูกภายในศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  5. ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายอรรณพ ทิพยแสง
นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ฯ
ผู้รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 6-17 มีนาคม พ.ศ.2565

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 6-17 มีนาคม พ.ศ.2565
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)

  1. ปลูกต้นไม้และจัดทำที่เก็บกักน้ำในแปลงสาธิตฯ
  2. ตัดหญ้าในแปลงสาธิตฯ
  3. ปรับเปลี่ยนและซ่อมแซมป้ายศูนย์ขับเคลื่อนฯ ปรับภูมิทัศน์ ดูแลความสะอา ดรอบบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม

รายงานการดำเนินกิจกรรม
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

  1. ร่วมประชุมประจำเดือนเครือข่ายคณะกรรมการ 7 กลุ่มบ้าน เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆของเครือข่าย และประชาสัมพันธ์เรื่องที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ ให้คณะกรรมการรับทราบ
  2. จัดทำที่เลี้ยงไก่ และปลูกพืชผักสวนครัว ณ ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  3. แจกกล้าไม้ให้กับ รร.ตชด.หม่องกั๊วะ เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ เพิ่มการกักเก็บคาร์บอน
  4. จัดประชุม ประชาสัมพันธ์ ราษฎร 4 กลุ่มบ้าน (หมู่ที่ 7) โดยมีหัวหน้าศูนย์ฯ เข้าร่วมประชุม ประชาสัมพันธ์ เรื่อง การบุกรุก ขยายพื้นที่ การร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาเรื่องไฟป่า การใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบพื้นที่ป่า และการดำเนินโครงการเรดด์พลัส ภายใต้ข้อตกลงชุมชน ในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าร่วมกันอย่างยั่งยืน
  5. ร่วมงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรมฤๅษี (ประเพณีมาบุ๊โคะ) ที่สัมพันธ์กับการอนุรักษ์

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 – 15 มีนาคม พ.ศ.2565

รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 – 15 มีนาคม พ.ศ.2565
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่)

  1. กรอกดินใส่ถุง เตรียมการเพาะกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายในฤดูฝนต่อไป
  2. ดูแลศูนย์ขับเคลื่อนฯ โดยเก็บกวาดพื้นที่สำนักงาน รดน้ำต้นไม้ ไม้ผล ไม้ประดับ และไม้ดอก
  3. ติดตามตรวจสอบ และแผ้วถางวัชพืช ไม้ที่ปลูกในแปลงสาธิต

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2565

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2565
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)

  1. บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (SCG) เข้าเยี่ยมชม และศึกษาดูงาน การดำเนินงานของกิจกรรม และกรอบงานเรดด์พลัส
  2. ปรับภูมิทัศน์ ดูแลความสะอาดรอบบริเวณศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  3. แจกจ่ายต้นพะยูงให้กับชุมชน จำนวน 300 ต้น

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเลย) รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเลย)
รายละเอียดดังนี้

  1. บันทึกข้อมูลต้นไม้และการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูก
  2. กิจกรรมดูแลรักษากล้าไม้
  3. ได้ดำเนินการ ผสมดินกรอกถุง จัดเก็บเมล็ดไม้ และย้ายชำกล้าไม้
  4. กิจกรรมดายวัชพืชภายในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  5. เตรียมจัดทำแปลงตัวอย่างการปลูกพืชในระบบวนเกษตรจำนวน 4ไร่
  6. จัดทำศาลาเอนกประสงค์ชั่วคราว เพื่อใช้ในการประชุมพบปะเกษตรกร ผู้นำชุมชน

นายเสกสรร จันทรเนตร
นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
ผู้รายงาน