ก๊าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟาเรดไว้ในเวลากลางวันแล้วแผ่คลื่นรังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน

ก๊าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟาเรดไว้ในเวลากลางวันแล้วแผ่คลื่นรังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทําให้อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันทําให้อุณหภูมิของโลกเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ในระยะเวลาที่ผ่านมามนุษย์ประกอบกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินไปจนทําให้ชั้นของก๊าซเรือนกระจกสะสมหนามากขึ้นเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนโลกที่ถูกปกคลุมไว้ด้วยผ้าห่มที่หนาจนเกินไป ทําให้ความร้อนและรังสีที่โลกรับมาจากดวงอาทิตย์ถูกกักไว้อยู่ในชั้นบรรยากาศไม่สามารถปลดปล่อยความร้อนส่วนเกินออกจากโลกได้ ดังนั้นจึงทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นและก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สาเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภาวะโลกร้อนนั้นเกิดขึ้นจาก “ก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินไปในชั้นบรรยากาศ“ โดยหากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ช่วงปี พ.ศ. 2293) การทำกิจกรรมของมนุษย์เริ่มมีการนำสิ่งประดิษฐ์เครื่องจักรกลมาใช้ในกระบวนการผลิตและการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยมีการพึ่งพาเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน น้ำมันเตา น้ำมันปิโตรเลียม เพื่อใช้ผลิตพลังงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และการผลิตไฟฟ้า สำหรับใช้ในครัวเรือนอีกทั้ง การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่องนั้นส่งผลให้ต้องมีการผลิตอาหารการเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอ ต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยและการขยายตัวของเมืองกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ล้วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศทั้งสิ้น ส่งผลให้โลกของเราร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 1,000 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ !!!

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 20 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดพิษณุโลก) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 20 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ดังนี้

  1. หัวหน้าศูนย์ฯเข้าร่วมสัมมนาแบ่งปันบทเรียนและความสำเร็จศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ และการสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อม ต่อกลไกเรดด์พลัสของประเทศ
  2. กิจกรรมดูแลรักษากล้าไม้
  3. กิจกรรมดายวัชพืช และริดกิ่งต้นไม้ภายในพื้นที่ศูนย์
  4. กิจกรรมการจัดทำแนวกันไฟภายในพื้นที่ศูนย์

นายอรรณพ ทิพยแสง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ฯ

ผู้รายงาน

การประชุมคณะกรรมการติดตาม และกำกับดูแลการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ และการประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเชิงยุทธศาสตร์

 วันที่ 23 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 – 12.00 น. นางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเชิงยุทธศาสตร์ ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการ (H.A. Slade) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยที่ประชุมรับทราบถึงการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเชิงยุทธศาสตร์ และร่วมกันพิจารณารายงานการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์ ซึ่งนำเสนอโดยทีมวิจัยจากมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

การสัมมนาสรุปผลการดําเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสของประเทศ

   วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. นางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดการประชุมการสัมมนาสรุปผลการดําเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสของประเทศ ณ ห้องทิวลิป โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์ โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และนางสาววราภรณ์ หิรัญวัฒน์ศิริ ผู้แทนธนาคารโลก กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงานต่าง ๆ ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสของประเทศ พร้อมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ในอนาคต ทั้งนี้ มีผู้แทนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเสวนา ในหัวข้อ “REDD+ โอกาสและความท้าทาย” ในอนาคต

การสัมมนาแบ่งปันบทเรียนและความสำเร็จศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 นายสิทธิชัย เสรีส่งแสง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาแบ่งปันบทเรียนและความสำเร็จศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ ณ ห้องทิวลิป โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดยมี คุณวิลาวรรณ น้อยภา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ รศ.ดร. ลดาวัลย์ พวงจิตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอมุมมอง “REDD+ กับโอกาสความเป็นกลาง ทางคาร์บอนของประเทศ” ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จากศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ จำนวน 9 แห่ง ร่วมถ่ายถอดเรื่องราวบทเรียนและความสำเร็จ จากการดำเนินงานศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า และ ความเสื่อมโทรมของป่าไม้ การอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (จันทบุรี)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (จันทบุรี)
ขอรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังนี้

  1. เช้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์
  2. ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าเสาธงและสำนักงานฯ

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
(จังหวัดจันทบุรี) รายงาน

เคล็ดลับในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเรา

เคล็ดลับในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเรา🌱🌞

วัฏจักรพลังงานชีวมวล สารชีวมวลคืออะไร

วัฏจักรพลังงานชีวมวล สารชีวมวลคืออะไร: โดยทั่วไปสารชีวมวลคือสารที่ได้มาจากพืชทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งถูกทำไปใช้เป็นพลังงานหรือสารที่ถูกนำไปใช้อื่น ๆ ในปริมาณมากโดยทางอ้อมนั้น หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการเพาะปลูก และอุตสาหกรรมอาหารสารชีวมวลถูกเรียกว่าไฟโตแมส (phytomass) และยังสามารถเปลี่ยนแหล่งที่มาชีวภาพได้โดยแหล่งที่มาชีวภาพนั้นอาจมาจากพืชหลายสายพันธุ์ทั้งที่อาศัยบนบกและในน้ำวิธีการเพาะปลูกที่หลากหลายป่าไม้สิ่งปฏิกูลและของเสียจากสัตว์ตลอดจนของพืชพลังงานเป็นหนึ่งในสารชีวมวลทางเลือกใหม่เนื่องจากสามารถขยายพื้นที่เสียจากกระบวนทางผลิตทางอุตสาหกรรมเพาะปลูกได้กว้างขวางแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่ได้ผลิตเชิงธุรกิจก็ตามสารชีวมวล ได้แก่ ขี้เลื่อยเศษไม้ ฟางข้าวเปลือกข้าว ขยะมูลฝอยครัวเรือน กากไม้ มูลสัตว์ เป็นต้น รวมถึงยูคาลิปตัสไฮบริดป๊อบลาร์ปาล์มน้ำมันอ้อยหญ้าสวิตซ์ 🌳🌿🌱🌾🛻

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 14.00 น. ได้รับการตรวจราชการศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ จังหวัดจันทบุรี จากนายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) และนายกำธร สุวรรณเวชผู้ อำนวยการส่วนอำนวยการ โดยมีนายนาท ตุ่นสิงห์คำ ให้การต้อนรับกล่าวรายงานความเป็นมาและนำตรวจราชการของศูนย์ฯ พร้อมตรวจโรงเพาะชำชุมชน และปลูกต้นรวงผึ้งประจำศูนย์ฯ

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รักษาการแทนหัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ (จังหวัดแพร่)

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ (จังหวัดแพร่)
รายงานการดำเนินกิจกรรมดังนี้

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ที่คงค้างแปลงเพาะจนหมดสิ้น
  2. ดูแลแปลงเพาะเมล็ดสัก โดยการตัดเรือนยอดต้นใหญ่เพื่อให้ต้นเล็กได้รับแสงและถอนวัชพืชในแปลงเพาะ
  3. แผ้วถางวัชพืชในศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  4. บำรุงรักษาไม้ประดับในศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  5. รื้อถอนเรือนเพาะชำชั่วคราวเนื่องจากถูกพายุฝนทำให้โค่นล้ม และจะได้จัดทำเรือนเพาะชำชั่วคราวใหม่
  6. อุทยานแห่งชาติแม่ยม มาใช้สถานที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ เป็นสถานที่ฝึกอบรม
  7. เตรียมสถานที่ติดตั้งป้ายศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  8. กำจัดและแผ้วถางวัชพืชแปลงสาธิต
  9. ปลูกซ่อมไม้ในแปลงสาธิต

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน

ป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ป่าไม้กับคาร์บอน พืชจะดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ผ่านกระบวนการทางเคมีๆ เพื่อให้พืชเติบโต ป่าไม้จึงเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนชนาดใหญ่ของโลก 🌎 🌳

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 1-22 ตุลาคม พ.ศ.2564 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภาย ใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 1-22 ตุลาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภาย
ใต้การกำกับกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)

  1. เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
  2. จัดทำบันทึกข้อมูลไม้ปลูกของชุมชน และทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564
  3. ปรับปรุงห้องทำงาน/ห้องเก็บของ
  4. ซ่อมแซมโรงเพาะชำ และเปลี่ยนถุงกล้าไม้
  5. ตัดหญ้าสนามรอบๆสำนักงาน เส้นทางเข้า-ออก และดูแลต้นไม้ปลูกของกิจกรรมต่างๆ

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) รายงาน

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2564 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)

นายจักรกฤษณ์ หล้าแก้ว
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน

รายงานการจัดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ ระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม พ.ศ.2564 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการจัดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ ระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ โดยการจัดการวัชพืช พรวนดิน ตัดแต่งกิ่ง และปลูกซ่อมต้นไม้ ในแปลงปลูกป่าลดโลกร้อน และแปลงปลูกป่าฟื้นฟูสภาพป่า รวม 6 แปลง เนื้อที่รวม 44 ไร่ รวมจำนวนต้นไม้ที่มีอยู่เดิม 1,895 ต้น และต้นไม้ที่ปลูกซ่อม รวมจำนวน 185 ต้น มีกลุ่มราษฎรเครือข่ายเข้ากิจกรรม จำนวน 13 คน

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 18 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 18 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. ดูแลรักษาศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ โดยการตัดหญ้า และแผ้วถางวัชพืช
  2. ดูแลแปลงเพาะเมล็ดสัก โดยการถอนวัชพืชในแปลงเพาะ
  3. ดูแลไม้ผล และไม้ประดับในศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ
  4. ปลูกพืชผักสวนครัว ในช่วงเวลาว่าง
  5. แผ้วถางวัชพืชศูนย์สาธิต

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ ผู้รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี)กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)
รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564

  1. วันที่ 6 กันยายน 2564 เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นต่อกลยุทธ์เรดด์พลัส
  2. วันที่ 7 กันยายน 2564 เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ (ระดับพื้นที่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  3. ดำเนินการพัฒนาและทำความสะอาดศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี)
  4. ทำการดูแล รดน้ำ ใส่ปุ๋ย กล้าไม้ป่า และรื้อแปลงเพาะชำกล้าไม้ในหมู่บ้านแม่กระบุงให้เหลือแปลงเพาะชำที่ศูนย์ฯ แห่งเดียวเพื่อง่ายต่อการดูแล
  5. แจกกล้าไม้ป่าให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านเป้าหมายของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี) จำนวน 43 ราย รวมเป็น 3,062 ต้น
  6. ติดตาม พร้อมทั้งจับค่าพิกัดและวัดความสูงกล้าไม้ป่าที่ได้ดำเนินการแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านเป้าหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  7. ร่วมปลูกต้นไม้กับหมู่บ้านเป้าหมายของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี)
  8. ปลูกกล้าไม้ภายในศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดกาญจนบุรี) จำนวน 217 ต้น

นางสาวสิริภรณ์ ครวญหา นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ผู้รายงาน

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) สบอ.2 (ศรีราชา)

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) สบอ.2 (ศรีราชา)

  1. ปรับปรุงห้องทำงาน/ห้องประชุมขนาดเล็ก/ห้องเก็บของ
  2. จัดทำบันทึกข้อมูลไม้ปลูกของชุมชน และทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564
  3. เข้าร่วมประชุมออนไลน์รายงานผลการปฏิบัติงานและปัญหา,อุปสรรค ในการปฏิบัติประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
  4. เปลี่ยนถุงกล้าไม้
  5. ตัดหญ้าสนาม และรอบๆ สำนักงานศูนย์ฯ

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ รายงาน

ประชุมหารือ เรื่อง “คาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่า แนวทางการดำเนินงานและการแบ่งปัน กรณีดำเนินโครงการในพื้นที่ของภาครัฐ” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

วันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมประชุมหารือ เรื่อง “คาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่า แนวทางการดำเนินงานและการแบ่งปัน กรณีดำเนินโครงการในพื้นที่ของภาครัฐ” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นำโดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประชาสัมพันธ์โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) และหารือแนวทางการดำเนินโครงการคาร์บอนเครดิตและการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตประเภทป่าไม้ ในส่วนพื้นที่ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รับผิดชอบ

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ วันที่ 1-17 กันยายน พ.ศ.2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่)
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ วันที่ 1-17 กันยายน พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ให้แก่ชุมชนเป้าหมาย
    2.ดูแลและจัดระบบแปลงเพาะชำ เพื่อเตรียมการเพาะกล้าไม้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ต่อไป
  2. ถางและถอนหญ้าแปลงเพาะเมล็ดสัก
  3. ดูแลและตัดหญ้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  4. กำจัดวัชพืชศูนย์สาธิต
  5. ใส่ปุ๋ยไม้เศรษฐกิจที่ปลูกในแปลงศูนย์สาธิตนายมงคล ทิพย์โพธิ์
    หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน