ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

1.แจกจ่ายกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ และกล้าไม้ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม

  1. ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ในพื้นที่ศูนย์สาธิตของศูนย์ขับเคลื่อนฯ ซึ่งเป็นการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม จนครบเต็มพื้นที่ เนื้อที่ 33 ไร่ ระยะปลูก6×6เมตร
  2. ดูแลแปลงเพาะเมล็ดสัก ในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
1.ปลูกไม้ยืนต้น (Tree) ได้แก่ สักและพะยูง ไม้ผล คือ มะม่วงและมะขาม ในพื้นที่ศูนย์สาธิตของศูนย์ขับเคลื่อนฯ ซึ่งเป็นการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม ซึ่งจะทยอยปลูกไปจนกว่าจะเต็มพื้นที่

  1. เพาะและปลูกพืชสมุนไพร คือต้นฟ้าทะลายโจร ในพื้นที่ศูนย์ขับเคลื่อนฯ

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ/รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้การกำกับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ได้ปฏิบัติงาน ดังนี้

1. ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2564 ภายใต้โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า พร้อมด้วยศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอสอยดาว โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา),นายอำเภอสอยดาว,นายก อบต.ปะตง พร้อมด้วยจิตอาสาพระราชทาน ส่วนราชการ ประชาชนอำเภอสอยดาว ณ บริเวณคูกันช้าง พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ท้องที่หมู่ที่ 7 ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ป่าให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่
    2.1 นายสมพงษ์ ฤกษ์สม ขอรับกล้าไม้ พะยูง 300 ต้น ตะเคียน 200 ต้น สัก 30 ต้น
    2.2 นายพลทิพย์ ชมพูโคตร ขอรับกล้าไม้ 20 ต้น
    รวมทั้งสิ้น จำนวน 550 ต้น

นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
หน.ศสปส.จบ. รายงาน

การประชุมหารือ การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับยุทธศาสตร์ ( SESA) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศ

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. นางสาวจินตนา บุพบรรผล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิจัยด้านพันธุ์พืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมประชุมหารือการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental and Social Assessment : SESA) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศไทย โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำหนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ชุมชนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่นๆ ต่อการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับยุทธศาสตร์สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ

การประชุมหารือ การจัดเตรียมกลไกการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องบร้องทุกข์ (FGRM) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศไทย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:30 – 16:00 น. นายธัญนรินทร์ ณ นคร ผู้ตรวจราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดการประชุมหารือการจัดเตรียมกลไกการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ (Feedback and Grievance Redress Mechanism: FGRM) สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสประเทศไทย ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยมูลนิธิ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในที่ประชุม ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมทั้ง ทีมนักวิจัย ได้นำเสนอ 1) ช่องทางการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ 2) ข้อกังวลและขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานเรดด์พลัส 3) จุดแข็งและช่องว่างขององค์กร ต่อการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ และ 4) (ร่าง) กรอบการดำเนินงานการรับข้อมูล และแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ชุมชนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น ๆ ต่อการจัดเตรียมกลไกการรับข้อมูลและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสของประเทศ

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ดังนี้

นายจักรกฤษณ์ หล้าแก้ว
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน

รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน และจดหมายถึงผู้บริหาร โครงการ เตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (TF 0A0984)

รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน และจดหมายถึงผู้บริหาร โครงการ เตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (TF 0A0984) ดำเนินการโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำหรับปี สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2563

Auditor’s report and financial statements for Thailand’s Readiness Preparation Proposal Readiness fund of the FCPF grant no. TF 0A0984, implemented by Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP) for the year ended 30 September 2020

เอกสารดาว์โหลด

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้.ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12-14 ก.ค.64

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12-14 ก.ค.64

  1. แจกจ่ายกล้าไม้ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ และแจกจ่ายกล้าไม้ (ตกค้าง) ของโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม ซึ่งมีทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้กินได้ โดยมีประชาชนในพื้นที่ไปติดต่อขอรับกล้าไม้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 ก.ค.64 หน่วยงานภาคสนามในพื้นที่ ประกอบด้วย ศูนย์ขับเคลื่อนฯ‚อุทยานแห่งชาติแม่ยม‚สถานีควบคุมไฟป่าแม่ยม‚เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง‚หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่สอง‚หน่วยศึกษาการพัฒนา การอนุรักษ์ต้นน้ำแม่ถาง ได้ร่วมกันขนส่งกล้าไม้และแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ณ ศูนย์ขับเคลื่อนฯ
  2. เตรียมพื้นที่ปลูกป่าศูนย์สาธิต ของศูนย์ขับเคลื่อนฯ เนื้อที่ 33 ไร่ ซึ่งได้ปักหลักหมายแนวเขตปลูก ระยะ 6×6 เมตร และจะได้ดำเนินการปลูกป่า โดยเป็นพื้นที่เปิดตัวโครงการของการปลูกป่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม
  3. ขนแกลบและโรยกลบแปลงเพาะเมล็ดสัก เนื่องจากเมล็ดฟูเหนือผิวดิน
  4. ปลูกไม้ประดับฟอกอากาศ (เฟรินส์เปลือกหอย) บริเวณโรงครัว
  5. ติดตามการติดตามะม่วงโชคอนันต์ โดยเปิดตาให้แตกยอด ในโซนพื้นที่ปลูกไม้ผลของศูนย์ขับเคลื่อนฯ
    นายมงคล ทิพย์โพธิ์
    หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน

สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ Invitation to Activity Data and Emission Factor ในระหว่างวันที่ 7 – 11 กันยายน 2563 ณ โรงแรมเมธาวลัย จังหวัดเพชรบุรี

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฎิบัติงานประจำวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2564

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

แจกจ่ายกล้าไม้ให้แก่ชุมชนเครือข่ายเรดด์พลัส

เก็บเศษขยะมูลฝอย ประเภทขวดแก้ว ขวดพลาสติก ตลอดจนกิ่งไม้แห้ง บริเวณหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เส้นทาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ – อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา จะมีผู้สัญจรทิ้งเป็นประจำ
นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ
รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564

รายงานผลการปฏิบัติงานวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ (จังหวัดแพร่) กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)

  1. ติดตามเปอร์เซ็นการรอดตายต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่ศูนย์สาธิตของศูนย์ขับเคลื่อนฯ ผลปรากฎว่ารอดตาย 100%
  2. สนับสนุนกล้าไม้ยืนต้นและไม้ประดับให้แก่ชุมชนในพื้นที่ เพื่อปลูกในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยริน หมู่ 1 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ชนิดกล้าไม้ สาธร‚มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ เหลืองเชียงราย‚ทองอุไร‚พิกุล และหมันแดง รวมจำนวน 230 ต้น โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม เป็นผู้ขนกล้าไม้
  3. เพาะกล้าไม้ทะลายโจร จำนวน 450 ถุง

นายมงคล ทิพย์โพธิ์
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนฯ รายงาน

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2564
ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดเชียงใหม่)

– สนับสนุนกล้าไม้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ได้แก่ มะไฟ‚ลูกพลับ ‚ต้นสัก‚มะขามป้อม‚ผักหวานบ้าน และกาแฟ
– ร่วมกับเครือข่ายฯบ้านเมืองอางพัฒนาทางเข้าหมู่บ้าน และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกริมถนนทางเข้าหมู่บ้านเมืองอาง ม.9 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

นายจักรกฤษณ์ หล้าแก้ว
หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ รายงาน

รายงานการดำเนินกิจกรรม ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก)

รายงานการดำเนินกิจกรรม

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  1. สำรวจติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ในแปลงปลูกผู้เข้าร่วมโครงการ ปี 2561 บ้านมอทะ จำนวน 4 ราย 4 แปลง โดยการจับพิกัด วัดความโต และความสูง ซึ่งต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีคือ ไม้สัก
  2. ร่วมกับเยาวชนบ้านกุยเลอตอ ปลูกต้นค้อเสริมในแปลงปลูกป่าลดโลกร้อน บ้านกุยต๊ะ พร้อมติดตามการเจริญเติบโตของต้นค้อที่ปลูกเสริมในช่วงระหว่างปี 2559 -2560

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินผ่านทางออนไลน์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

เนื่องจากในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 68 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่  10 ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณฯ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ผ่านทางออนไลน์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

วันที่ 10 มิถุนายน 2563 นายประเสริฐ สอนสถาพรกุล ผู้อำนวยการ กองการต่างประเทศ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงานกำกับวิชาการ โครงการพัฒนาระดับอ้างอิงภาคป่าไม้

วันที่ 10 มิถุนายน 2563

นายประเสริฐ  สอนสถาพรกุล ผู้อำนวยการ กองการต่างประเทศ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงานกำกับวิชาการ โครงการพัฒนาระดับอ้างอิงภาคป่าไม้ และระบบการตรวจวัด การติดตาม และการรายงานสำหรับกรอบงานเรดด์พลัส (CS-7) ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (Readiness Preparation Proposal: R-PP) ณ โรงแรมไมด้า จ. นครปฐม

โดยผู้แทนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอผลการจัดทำข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) สัมประสิทธ์การปล่อยกาซเรือนกระจก (Emission Factor) และระดับอ้างอิงภาคป่าไม้ (Forest Reference Level)ให้คณะทำงานฯ จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รับทราบแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการจัดทำข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ ความถูกต้องเหมาะสม และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และได้รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากคณะทำงานฯ ต่อการจัดทำ และการนำเสนอข้อมูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรม

ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ฯ ระดับพื้นที่ (จังหวัดตาก) รายงานการดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.เพราะกล้ายางแดง และกล้าไม้สัก

2.จัดการวัชพืชในแปลงปลูกป่า บ้านมอทะ และปลูกซ่อม

3.ขนกล้าไม้ไปศูนย์ขับเคลื่อนฯ โดยได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากโครงการพัฒนาชุมชนชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านมะโอโคะ จำนวน 10,000 กล้า

4.แจกจ่ายกล้าไม้ให้ราษฎรเพื่อนนำไปปลูกในพื้นที่สำรวจรังวัด ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

นายภิรมย์ พวงสุมาลย์ รายงาน

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 นายสมหวัง เรืองนิวัติ รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุม

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563
นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และ​พันธุ์พืช​ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการกำกับวิชาการ โครงการจัดทำยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านเรดด์พลัสของประเทศ (TWG CS-5) ครั้งที่ 2/2563 พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกอ​งการ​ต่างประเทศ​ ผู้จัดการสำนัก​งานการเปลี่ยนแปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาคป่าไม้ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของ กรมอุทยานแห่งชาติ​สัตว์ป่า ​และ​พันธุ์พืช​ กรมทรัพ​ยากรทางทะเลและชายฝั่ง​ กรมป่าไม้​ กรมส่งเสริม​คุณภาพ​และสิ่งแวดล้อม​ กรมอุสาหกรรมป่าไม้ กรมประชาสัมพันธ์ และ RECOFTC ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา ETIFOR, KENAN and SEI ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร H.A. Slade กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยกองการต่างประเทศ ได้จัดจ้างให้บริษัทผู้รับจ้างนำส่งครุภัณฑ์การเกษตร

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม​ 2563 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยกองการต่างประเทศ ได้จัดจ้างให้บริษัทผู้รับจ้างนำครุภัณฑ์การเกษตร​นำส่งศูนย์​ขับเคลื่อน​และเรียนรู้​การเปลี่ยนแปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับพื้นที่ (พัทลุง)​ ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์​ จ.พัทลุง​ ดังนี้
– ถังน้ำไฟเบอร์กลาส ขนาด 2,500 ลิตร จำนวน 4 ถัง
– เครื่องตัดหญ้าแบบข้อแข็ง จำนวน 2 เครื่อง
– เครื่องสูบน้ำพร้อมอุปกรณ์และท่อ จำนวน 1 เครื่อง
– เครื่องปั่นไฟจำนวน1เครื่อง
พร้อมทั้งฝากครุภัณฑ์จากกองการต่างประเทศให้ผู้รับจ้างนำมาส่งในคราวเดียวกัน คือ.
– Projetorจำนวน 1อัน
– mornitor จำนวน 1เครื่อง

นางสาวเกสรี รักชุมคง
หัวหน้าศูนย์​ขับเคลื่อน​และเรียนรู้​การเปลี่ยนแปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับ​พื้นที่ (พัทลุง)​
รายงาน

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จันทบุรี)

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) ภายใต้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
– ได้ทำการติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เครื่องสูบน้ำ และทดลองใช้เครื่องหญ้า
– เตรียมดินใส่ถุงเพื่อเพาะชำกล้าไม้ กล้าไม้ ตะเคียนทอง ยางนา พะยุง และอื่นๆที่หาได้ในพื้นที่
– ปรับปรุงสถานที่ ทำความสะอาด ดูแลต้นไม้ปลูก แก้ไขป้ายศูนย์ฯ
– นิทรรศการของศูนย์ฯ ซึ่งได้รับจาก สำนักงาน​การเปลี่ยนแปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​
นายนาท ตุ่นสิงห์คำ
หัวหน้า ศูนย์​ขับเคลื่อน​และเรียนรู้​การเปลี่ยนแปลง​สภาพ​ภูมิอากาศ​ภาค​ป่าไม้​ ระดับ​พื้นที่ (จันทบุรี)

แนวทางการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน

การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน = เพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เป็นป่าและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่อื่นที่เปลี่ยนเป็นพื้นที่ (IPCC definition)