ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้
Forest and Climate Change Division

กิจกรรมนำร่องเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่คุ้มครองในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนและเพิ่มพื้นที่ป่าในการกักเก็บคาร์บอนด้วยกลไกเรดด์พลัส

  1. เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้
  2. เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้และกรอบการดำเนินงานด้านเรดด์พลัสในระดับประเทศต่อไป

 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการบุกรุกทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและการเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ ในระดับชุมชน

  1. ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้
  2. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2   (ศรีราชา)
  3. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3   (กาญจนบุรี)
  4. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6   (สงขลา)
  5. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8   (ขอนแก่น)
  6. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี)
  7. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11  (พิษณุโลก)
  8. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13  (แพร่)
  9. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14  (ตาก)
  10. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16  (เชียงใหม่)
  1. สำรวจและคัดเลือกชุมชนต้นแบบโดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และจัดระบบฐานข้อมูลทรัพยากรและอื่นๆ ของชุมชน พร้อมจัดทำแผนที่ชุมชนและการใช้ประโยชน์ของชุมชน
  2. การประชุมหารือในระดับเครือข่าย และภูมิภาค
  3. จัดประชุมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการตามกรอบแนวทางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้และกรอบการดำเนินงานด้านเรดด์พลัส
  4. จัดฝึกอบรมให้ความรู้ ประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดูงานในพื้นที่จริงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กรอบการดำเนินงานด้านเรดด์พลัส การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำรงชีพและการประกอบอาชีพ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. การประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนและกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในพื้นที่ชุมชนเพื่อลดการบุกรุกทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่
  6. การจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการประจำชุมชนในการดำเนินโครงการนำร่องฯ โดยเจ้าหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาและสนับสนุนทางเทคนิค และจัดหาแหล่งงบประมาณในการสนับสนุน
  7. การจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นหน่วยขับเคลื่อนและประสานการดำเนินโครงการฯ ในระดับพื้นที่ ตลอดจนการสาธิตการดำเนินงานและให้ความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคป่าไม้และการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้และชุมชนที่พึ่งพิงป่า
  8. การดำเนินการตามแผนกิจกรรมที่กำหนดรวมถึงการติดตามตรวจสอบทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่และการดำเนินการ ตามกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านเรดด์พลัส การประเมินผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กติกาประชาคม หรือข้อตกลงในการบริหารจัดการป่า การกำหนดมาตรการในการแบ่งปันผลประโยชน์ การส่งเสริมอาชีพทางเลือก และอาชีพสำรอง เพื่อทดแทนการใช้ประโยชน์จากป่าการประสานหาแหล่งทุนในการดำเนินการ และอื่นๆ
  9. การประเมินผลการดำเนินการ การรายงาน และนำเสนอบทเรียนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หรือแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง

การเตรียมความพร้อมการชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องเป้าหมายและวิธีการดำเนินการการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจสังคมของชุมชนการใช้ประโยชน์ที่ดินผังพื้นที่และความรู้เชิงลึกเฉพาะด้านให้แก่ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนต้นแบบนำร่องดังนี้

 

ปีงบประมาณ ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ
2557 1.บ้านคลองกระทา ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรีในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2     (ศรีราชา)
2.บ้านในปริก ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราชติดแนวเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5(นครศรีธรรมราช)
3.บ้านนาหว้า อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานีเขตป่ารอยต่อวนอุทยานน้ำตกผาหลวง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9(อุบลราชธานี)
4.บ้านหม่องกว๊ะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
5. บ้านเมืองอาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)

 

ปีงบประมาณ ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ
2558  1.บ้านคลองกระทา ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรีในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2     (ศรีราชา)
2.บ้านในปริก ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราชติดแนวเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5(นครศรีธรรมราช)
3.บ้านนาหว้า อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานีเขตป่ารอยต่อวนอุทยานน้ำตกผาหลวง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9(อุบลราชธานี)
4.บ้านหม่องกว๊ะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
5.บ้านกุยเลอตอ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
6.บ้านพอกระทะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
7. บ้านเมืองอาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
8. บ้านแม่แอบ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
9. บ้านปลายดินสอ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรีอุทยานแห่งชาติเอราวัณ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง)
10. ชุมชนบ้านตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง จำนวน 4 หมู่บ้านหมู่ 4 บ้านโพธิ์ หมู่ 6 บ้านโหล๊ะจันกระ หมู่ 9 บ้านป่าพงศ์ และหมู่ 11 บ้านนาส้อง

ติดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จ.พัทลุง

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6(สงขลา)

 

ปีงบประมาณ ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ
2559 1.บ้านคลองกระทา ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรีในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2     (ศรีราชา)
2.บ้านในปริก ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราชติดแนวเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5(นครศรีธรรมราช)
3.บ้านนาหว้า อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานีเขตป่ารอยต่อวนอุทยานน้ำตกผาหลวง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9(อุบลราชธานี)
4.บ้านหม่องกว๊ะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
5.บ้านกุยเลอตอ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
6.บ้านพอกระทะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
7.บ้านกุ๊ยตะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
8. บ้านเมืองอาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
9. บ้านแม่แอบ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
10. บ้านแม่ปะลอ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
11. บ้านปลายดินสอ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรีอุทยานแห่งชาติเอราวัณ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง)
12. ชุมชนบ้านตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุงหมู่ 4 บ้านโพธิ์ หมู่ 6 บ้านโหล๊ะจันกระ หมู่ 9 บ้านป่าพงศ์ และหมู่ 11 บ้านนาส้อง ปีงบประมาณ 2560 จะเพิ่มจำนวน 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 2, 3, 5

ติดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จ.พัทลุง

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6(สงขลา)

 

ปีงบประมาณ ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ
2560 1.บ้านคลองกระทา ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรีในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2     (ศรีราชา)
2. บ้านปลายดินสอ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรีอุทยานแห่งชาติเอราวัณ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง)
3. ชุมชนบ้านตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง (จำนวน 4 หมู่บ้าน)หมู่ 4 บ้านโพธิ์ หมู่ 6 บ้านโหล๊ะจันกระ หมู่ 9 บ้านป่าพงศ์ และหมู่ 11 บ้านนาส้อง หมู่ 2,3,5

ติดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จ.พัทลุง

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6(สงขลา)
4.บ้านนาหว้า อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานีเขตป่ารอยต่ออุทยานแห่งชาติผาแต้ม สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9(อุบลราชธานี)
5.บ้านหม่องกว๊ะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
6.บ้านกุยเลอตอ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
7.บ้านพอกระทะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
8.บ้านกุ๊ยตะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก)
9.บ้านไกบอทะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก) ดำเนินการเพิ่มปี 2560
10.บ้านมอทะ อ.อุ้มผาง จ.ตากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14(ตาก) ดำเนินการเพิ่มปี 2560
11. บ้านเมืองอาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
12. บ้านแม่แอบ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
13. บ้านแม่ปะลอ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่)
14. บ้านเพิ่ม อ.นายูง จ.อุดรธานีอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) ดำเนินการเพิ่มในปี 2560
15. บ้านยูไนซ์  อ.อุมผาง จ.ตากแขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันออก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) ดำเนินการเพิ่มในปี 2560
ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้
Forest and Climate Change Division
magnifiercross linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram